Scoop : Biological Weapons จับเชื้อโรคมาทำอาวุธ | Issue 160

Scoop : Biological Weapons จับเชื้อโรคมาทำอาวุธ | Issue 160

อาวุธชีวภาพเป็นการนำเชื้อโรคและเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ มาพัฒนาบรรจุในหัวจรวดเพื่อใช้ยิงไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาวุธชีวภาพมีการคิดค้นกันมานานแล้ว แต่เราเพิ่งจะมาได้ยินหรือรู้จักกับอาวุธชนิดนี้กันมากขึ้นก็เมื่อครั้งที่สหรัฐอเมริกาสั่งปฏิบัติการ “จิ้งจอกทะเลทราย” โจมตีเป้าหมายที่คิดว่าจะเป็นแหล่งผลิตอาวุธเชื้อโรคของอิรัก จึงทำให้ชื่อและแสนยานุภาพของอาวุธชนิดนี้เป็นที่สนใจของประชาชนกันอย่างมาก

สำหรับเชื้อโรคและเชื้อจุลินทรีย์ที่นิยมนำมาพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพ ได้แก่เชื้อแอนแทรกซ์ เป็นเชื้อที่เกิดอันตรายกับสัตว์ สามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน ทนต่อแสงแดด เชื้อนี้สามารถติดต่อได้โดยการหายใจเอาสปอร์เข้าไป ทำให้มีเลือดออกทางปาก จมูก ทวาร

PLAGUE เป็นเชื้อแบคทีเรีย Pasteurella pestis ส่งผลให้ปอดบวมและเสียชีวิต เชื้อไวรัสอีโบล่า ทำให้เกิดการการตกเลือดทางช่องทวารต่าง ๆ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดอันตรายกับพืช เช่น ข้าว ได้แก่ เชื้อที่ทำให้ข้าวเกิดโรคใบไหม้ ผลิตเพื่อใช้เป็นอาวุธทำลายแหล่งอาหาร นอกจากนี้ยังมีเชื้ออื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เชื้อที่เกิดจากโรคฝีดาษ ฯลฯ และโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ก็มีบางข้อมูลที่อ้างว่าเป็นอาวุธชีวภาพด้วยเช่นกัน

ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีการผลิตอาวุธชีวภาพแต่อย่างใด เนื่องจากเราได้เข้าร่วมอยู่ในภาคีอนุสัญญาห้ามพัฒนาผลิตอาวุธแบคทีเรีย (ชีวะ) - Biological Weapons Convention ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมถึง 141 ประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือถึงแนวทางในการป้องกันเกี่ยวกับอาวุธเชื้อโรคดังกล่าว โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ BIOTEC ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

หรือโควิด-19 จะเป็นอาวุธชีวภาพ?

อเมริกากล่าวหาจีน จีนก็ว่าอเมริกานั่นแหละ ที่ทำอาวุธชีวภาพ ตามข้อมูลและข่าวสามารถอ้างอิงได้ว่าทั้งสองประเทศก็เคยพัฒนาและวิจัยเรื่องเชื้อโรคด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเพื่อเป็นอาวุธ หรือเพื่อคิดค้นวัคซีน ยารักษาโรคก็ตาม

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกามีอาวุธเชื้อโรคในครอบครอง แต่ไม่ส่งเข้าสู่สนามรบด้วยหลายสาเหตุ หลัก ๆ คือเชื้อโรคต้องใช้เวลาฟักตัว และเสี่ยงที่จะติดพวกเดียวกันเองอีกด้วย หลังสงครามท่ามกลางกระแสรณรงค์ต่อต้านในช่วงต้นยุค 1960 ทำให้อเมริกาเองเป็นคนผลักดันให้นานาชาติล้มเลิกโครงการอาวุธเชื้อโรค ด้วยการริเริ่มเจรจาจัดทำอนุสัญญาอาวุธชีวภาพ Biological Weapons Convention

ส่วนจีนเองเริ่มสนใจอาวุธชีวภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1951 นายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล มีบัญชาให้ก่อตั้งสถาบันการแพทย์ทหาร เพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันประเทศโดยใช้สารชีวภาพ แต่หลังจากพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จนมั่นใจในขีดความสามารถด้านการป้องปรามของตัวเองแล้ว ในปี 1984 จีนเองก็ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาอาวุธชีวภาพ เมื่อถึงยุคที่จีนทุ่มเทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงการวิจัยด้านชีวภาพของจีนจึงกลายเป็นพระเอกในสายตาประขาคมโลกบ้าง จากการผลิตยาต้านมาลาเรีย และในปี 2014 ก็ได้พัฒนายา 2 ตัวสำหรับสู้กับไวรัสอีโบลา

ข้อมูลข่าวสารที่ชวนตั้งข้อสงสัย

เริ่มต้นด้วยการให้สัมภาษณ์ของ Dr. Francis Boyle ที่เผยแพร่ทางพอดแคสต์ Geopolitics and Empire เขาเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อต้านการก่อการร้ายด้วยอาวุธทางชีวภาพปี 1989 (Biological Weapons Anti-Terrorism Act of 1989) ซึ่งผ่านการอนุมัติรับรองจากทั้ง 2 สภาของรัฐสภาสหรัฐฯ และลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายโดย จอร์จเอช.ดับเบิลยู. บุช ผู้เป็นประธานาธิบดีอเมริกาในเวลานั้นในการให้สัมภาษณ์ เขาพูดอย่างมีรายละเอียดกล่าวหาว่า โควิด-19 เป็นอาวุธสงครามทางชีวภาพเชิงรุกอย่างหนึ่ง และระบุด้วยว่าองค์การอนามัยก็ทราบเรื่องนี้

Tom Cotton วุฒิสมาชิกสหรัฐฯสังกัดพรรครีพับลิกัน และเป็นสมาชิกอยู่ในคณะกรรมาธิการการทหารของสภาสูงอเมริกัน ได้เติมเชื้อเพลิงโหมไฟข่าวลือให้ลุกฮือมากขึ้นอีก โดยออกมาพูดเมื่อเร็วๆ นี้ว่า โควิด-19 “อาจจะมาจากห้องแล็ปรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูงที่เมืองอู่ฮั่น” หนังสือพิมพ์ “เดอะ สตาร์” (The Star) ของมาเลเซีย รายงานข่าวเอาไว้เช่นนี้

กิจการบริษัทของจีนถูกฝ่ายตะวันตกกล่าวหาโจมตีมานานแล้วว่า มีความเกี่ยวข้องพัวพันอย่างใกล้ชิดกับสถาบันด้านกลาโหมของประเทศ และนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญซึ่งสหรัฐฯหยิบยกมาอ้างในเวลาเรียกร้อง 5 ชาติที่กำลังร่วมมือแลกเปลี่ยนข่าวกรองกันอยู่ ซึ่งเรียกกันว่าโครงการ Five Eyes อันประกอบด้วย สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์ ให้หลีกเลี่ยงอย่าได้ใช้เทคโนโลยี 5จี ของบริษัทหัวเว่ย

สำหรับฝ่ายจีนได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาข้อกล่าวอ้างเหล่านี้โดย Cui Tiankai เอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐฯ พูดถึงข้อกล่าวหาต่างๆ เหล่านี้ว่า เป็นข้อกล่าวหาชนิด “เหลวไหลฟั่นเฟือนอย่างถึงที่สุด” พร้อมกับเตือนด้วยว่า คำกล่าวหรือข้อเขียนในลักษณะเช่นนี้อาจก่อให้เกิดผลต่อเนื่องซึ่งสร้างความเสียหายติดตามมา

นี่คือข้อมูลที่มีการนำเสนอข่าวออกมาในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์แต่อย่างใด เป็นเพียงการกล่าวอ้างขึ้นมาเท่านั้น

Unit 731

การทดลองอาวุธชีวภาพและเคมีในอดีต เรื่องที่โด่งดังระดับโลกคงหนีไม่พ้น ค่ายนรกที่ญี่ปุ่นทดลองอย่างลับ ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคยมีภาพพยนตร์นำมาตีแผ่ในชื่อ จับคนมาทำเชื้อโรค หรือโครงการ “Unit 731” ที่มี ชิโร อิชิอิ เป็นผู้บัญชาการหน่วยนั่นเอง

ในเอกสารของหน่วยจะไม่ระบุว่ากวาดต้อนคนเป็นๆ มาทำอาวุธเชื้อโรค แต่ระบุโดยใช้รหัสว่า “ท่อนไม้” บางครั้งยังตีพิมพ์ผลงานการทดลองในวารสารทางวิทยาศาสตร์โดยโกหกว่าทำการทดลองกับไพรเมต หรือลิงใหญ่ เช่น ลิงแมนจูเรีย ซึ่งที่จริงแล้วในโลกไม่มีลิงพันธุ์นี้


อ่าน Scoop : Global  Pandemic เพิ่มเติม 

Global Pandemic : โควิด–19 ไวรัสวายร้าย ท้าทายมนุษย์ - Intro

Emerging Disease : โรคอุบัติใหม่

- Covid-19  : โรคอุบัติใหม่ร้ายแรง!

ส่องมาตรการรับมือ Covid-19 ของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในไทย

Organizational Restructuring : โรคระบาด บังคับให้ปรับตัว

Final Scene : โควิด-19 จบอย่างไร

Scoop : Biological Weapons จับเชื้อโรคมาทำอาวุธ | Issue 160