Scoop : กฎหมายและการเลี้ยงสัตว์ในต่างประเทศ | Issue 164

Scoop : กฎหมายและการเลี้ยงสัตว์ในต่างประเทศ | Issue 164

ในประเทศที่เจริญแล้วไม่ว่าจะทำอะไร มักมีกฎระเบียบขั้นตอนปฏิบัติที่รัดกุมเสมอ ไม่เว้นแม้กระทั่งการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถ้าเป็นประเทศไทยของเราถ้าอยากเลี้ยงสุนัขสักหนึ่งตัววิธีง่าย ๆ เลยคือเดินเข้าไปซื้อ หรือไปขอมาจากคนอื่นเราก็เอาสุนัขมาเลี้ยงอย่างง่ายดาย แต่ปัญหาคือ คนที่เลี้ยงสุนัขไม่สามารถเลี้ยงพวกเขาได้ตลอดรอดฝั่ง บางคนให้อาหารบ้างไม่ให้บ้าง ไม่มีเวลาดูแลเต็มที่ หากสุนัขทำผิดก็เอาไปปล่อยกลายเป็นสุนัขจรจัด หิวโซ เป็นโรคขี้เรื้อนอาศัยตามย่านเสื่อมโทรม กลายเป็นสิ่งที่น่าเวทนา และปัญหาสังคมที่ไม่มีวันจบ

ความจริงเรื่องของการห้ามทำการทารุณโหดร้ายกับสัตว์เริ่มมีแนวคิดนี้ขึ้นมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 17 จากแนวคิดของกลุ่มผู้เคร่งศาสนาในอาณานิคมอ่าวแมสซาซูเสส แต่การบัญญัตินี้ไม่ได้มีผลบังคับใช้ทาง กฎหมาย ถ้าเรานับเรื่องของกฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์ ประเทศแรก ที่บัญญัติขึ้นมาคือ ประเทศอังกฤษในปี ค.ศ.1822 ส่วนประเทศที่ 2 คือสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1829 โดยรัฐนิวยอร์ค หลังจากนั้น รัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาก็ทยยออกกฎหมายลักษณะนี้ตามกันมา เมื่อเวลาผ่านไปประเทศในโลกตะวันมีกฎหมายตามเกี่ยวกับการปกป้องสัตว์กันเกือบทุกประเทศ

โดยกฎหมายที่ออกมาในต่างประเทศนั้นเป็นในรูปแบบการป้องกันทารุณสัตว์ ยกตัวอย่างเช่นประเทศออสเตรเลียที่มีรูปแบบ การปกครองเป็นสหพันธรัฐ กฎหมายของแต่ละรัฐจึงแตกต่างกัน โดยในรัฐรัฐนิวเซาท์เวลส์ มีกฎหมายออกมาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงออกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 คือกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ อีกหนึ่งปี ถัดมาพวกเขาก็ออกกฎหมายสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ในปี ค.ศ.1995 ออกกฎหมายสัตว์ทดลอง กฎหมายคุ้มครองสัตว์สำหรับจัดแสดงกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรซึ่งกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่งสัตว์ด้วยยานพาหนะ เรียกว่ามาก่อนประเทศไทยหลายสิบปี

ในรัฐมอนแทนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดว่าการทารุณกรรมสัตว์คือ การให้สัตว์ทํางานมากเกินไป ทรมาน ทําร้าย ฆ่าสัตว์ใด ๆ หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังสัตว์ใด ๆ ในลักษณะที่โหดร้าย มีโทษปรับได้ถึง 1,000 ดอลล่าร์ และหรือจําคุกถึง 1 ปี

ในฝั่งยุโรปอย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ สุนัขทุกตัวอยู่ที่อยู่ในประเทศต้องทำการ ขึ้นทะเบียน ซึ่งคล้ายกับการทำบัตรประชาชนของคน ทำให้รู้ว่ามีสุนัขเกิดและตายจำนวน เท่าไหร่ มีผลดีในการควบคุมประชากรสุนัข แถมยังทราบทันทีว่าหากสุนัขก่อความวุ่นวายหรือไปกัดคน เจ้าของจะต้องรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงยังต้องเสียภาษี ซึ่งในแต่ละเมืองจะมีอัตราที่ต่างกันออกไป โดยสุนัขตัวแรกจะเสียตัวละ 112.80 ยูโรต่อปี (4,274 บาท) ตัวที่สองต้องเสีย 176.76 ยูโรต่อปี (6,700 บาท) เรียกได้ว่าใครมีสุนัขมาก ก็ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น ทำให้คนที่จะเลี้ยงสุนัขต้องมีเงินและความพร้อมจริง ๆ เท่านั้น

โดยประเทศในยุโรปที่ยังมีการเก็บภาษีสุนัข เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เจ้าของต้องเสียภาษี 48.50 เหรียญสหรัฐต่อตัวต่อปี (1,500 บาท) ส่วนประเทศเยอรมัน แต่ละเมือง เสียภาษีไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วชาวเยอรมันเสียภาษีสุนัขเฉลี่ยสูงสุดปีละ 186 ยูโร (7,200 บาท) ด้วยเงินจำนวนนี้เองทำให้ในปี ค.ศ. 2016 กรุงเบอร์ลินจัดเก็บภาษีนี้ได้เป็นเงินมากกว่า 11 ล้านยูโร (423.3 ล้านบาท) เลยทีเดียว

เรามาดูว่าประเทศแถบเอเชียกันบ้าง เริ่มจากประเทศสิงคโปร์ มีการกำหนดให้การ ทารุณกรรมสัตว์ เป็นความผิดภายใต้กฎระเบียบ ว่าด้วยสัตว์และนก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 ด้วยความที่ เป็นเกาะเล็ก ๆ ถ้าหากมีประชาการสุนัขและแมว มากเกินไปทำให้ก็คงจะล้นเกาะอย่างแน่นอน พวกเขา จึงต้องออกกฎหมายที่เข้มงวด เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ อยากเลี้ยงสัตว์ต้องกำหนดเกณฑ์อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้มีวุฒิภาวะมากพอในการดูแลสัตว์ นอกจากนี้ยังห้ามสมาชิกในครอบครัวอุปถัมภ์มีเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี อย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่มีต่อเด็กหรือจากเด็กที่อาจทำร้ายสัตว์ได้เหมือนกัน

แม้ว่าจะมีอายุผ่านเกณฑ์ที่เลี้ยงสัตว์ได้แล้ว ผู้ที่ต้องการเลี้ยงต้องแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเลี้ยงดูจึงต้องแสดงเอกสาร เช่น เอกสาร การเสียภาษี โฉนดที่ดิน เอกสารอนุญาตในการเลี้ยงในพื้นที่ ฯลฯ จะเห็นได้ว่ากว่าจะเลี้ยงได้แต่ละตัวไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต บนอาคารชุดของคนสิงคโปร์จึงไม่เอื้อต่อการ เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสุนัขสักเท่าไหร่ คนที่เลี้ยงได้ต้องเป็นคนที่มีเงินพอสมควร

ในประเทศญี่ปุ่นมีบัญญัติห้ามทารุณกรรมสัตว์ ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองและ ควบคุมสัตว์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ปัจจุบันมีการ บังคับเลยว่าหากใครที่ต้องการเลี้ยงสัตว์ ต้องเข้าไปลงทะเบียนที่เทศบาลหรือสาธารณสุขท้องถิ่น ประมาณ 900 บาท เพื่อขอใบอนุญาต ซึ่งในปลอกคอของสุนัขจะต้องติดชื่อเจ้าของ เอาไว้ เพื่อกันสุนัขหลงทาง หรือก่อความวุ่นวาย จะได้ตามหาผู้รับผิดชอบถูก ซึ่งพวกเขายังมี กฎระเบียบยิบย่อยในการซื้อขายสุนัขที่ห้ามแยก แม่กับลูกก่อน 45 วัน หรือแม้กระทั่งโครงการจับสุนัขหรือแมวจรจัดมาทำหมันเพื่อลดจำนวนประชากร

ถามว่าประเทศไทยสามารถทำแบบประเทศเหล่านี้ได้หรือไม่ ในแง่ของกฎหมายคุ้มครองสัตว์ (พระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมและการ จัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557) ตอนนี้คนไทย ส่วนใหญ่รับรู้จากสื่อโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว หากใครกระทำการทารุณกรรมสัตว์ คนไทยที่รักสัตว์ ก็พร้อมตามล่าหาคนทำผิดมาลงโทษ

แต่ในส่วนของระบบการจัดการเริ่มตั้งแต่สุนัขเกิดจัดทำทะเบียนสุนัขยังไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลพยายามจะให้ มีการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชน เพราะต้องเสียเงิน 450 บาทต่อตัว แน่นอนว่าคนไทยไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น จึงถูกระงับไปก่อน หากนโยบายเสียเงินเพื่อขึ้นทะเบียนสุนัขดำนเนินต่อเราอาจจะเห็นสุนัขจรจัดออกมาเดินบนถนนมากมาย

แต่ถ้าเราค่อย ๆ ทำ ลดค่าใช้จ่ายในการ ขึ้นทะเบียนเหลือหลักสิบ หรือฟรี เชื่อว่าคนไทยต้องมาขึ้นทะเบียนทั้งหมด เป็นการรู้จำนวนจริงของประชากรสุนัข และยังสามารถจัดสรรวัคซีนป้องกันโรค รวมทั้งจัดระบบสุนัขให้มีคุณภาพ ความเป็นอยู่ให้ดี หากมีการสร้างเงื่อนไขให้ คนเลี้ยงสัตว์เมื่อพร้อม หรือแม้แต่การจัดเก็บ ภาษีสุนัข แต่ต้องแจ้งกำหนดเวลาให้คนได้เตรียมตัวในมาตรการต่าง ๆ เชื่อว่าการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสุนัขจะเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งสุนัขและ คนเลี้ยงจะมีความสุขมากขึ้นนั่นเอง


อ่าน Scoop : Aggressive Dog Breeds เพิ่มเติม 

Aggressive Dog Breeds ศึกษาพฤติกรรมสุนัขพันธุ์ดุ Intro

The World’s 10 Most Deadly Dog Breeds 10 สุนัขจอมโหด

สุนัขก้าวร้าวเพราะสายพันธุ์ หรือดุดันเพราะเลี้ยงดู?

Dog Training พฤติกรรมสุนัขขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู

กฎหมายเรื่องของสัตว์ในประเทศไทย

Scoop : กฎหมายและการเลี้ยงสัตว์ในต่างประเทศ | Issue 164