ไขมันทรานส์ ภัยร้ายซ่อนรูป

ไขมันทรานส์ ภัยร้ายซ่อนรูป

ปัจจุบันปริมาณของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาหาร ผลิตภัณฑ์แปรรูป ขนมต่าง ๆ จะต้องแสดงอยู่ข้างบรรจุภัณฑ์ของอาหารแต่ละชนิด ซึ่งไขมันทรานส์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกระบุอยู่ด้วย โดยเฉพาะฉลากโภชนาการอาหารแปรรูปในสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยไม่ได้บังคับให้ใส่ข้อมูลไขมันทรานส์ในฉลากอาหาร

การกินไขมันทรานส์เข้าไปจะส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเจ้าไขมันตัวนี้จะไปเพิ่มการสร้างพลากซ์ด้านในของผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ สั่งให้มีการแจ้งปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากโภชนาการ ตั้งแต่มกราคม ค.ศ.2006 เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่า อาหารแต่ละชนิดที่รับประทานเข้าไปนั้น มีปริมาณไขมันทรานส์อยู่เท่าไร โดยเฉพาะอาหารแปรรูปจากโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากมีส่วนประกอบของน้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไป ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดไขมันทรานส์ในอาหารแปรรูปทั้งหลายโดยทางองค์การอาหารและยาของทางสหรัฐฯได้ดำเนินการเพิ่มขั้นตอนในการกำจัดไขมันทรานส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากแหล่งอาหาร ซึ่งหากทำสำเร็จอาจจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยป้องกันผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจปีละหลายพันคนและด้วยเหตุนี้ทำให้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้มีการตัดสินในขั้นต้นว่า น้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปนั้น ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป โดยมีการอ้างอิงถึงการค้นพบของคณะผู้เชี่ยวชาญและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญคือ ดร.ซูซาน เมย์นี ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยของอาหารและโภชนาการประยุกต์ ขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม เจ้าไขมันทรานส์นั้น ไม่ได้ถูกกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนมหรือไข่ รวมไปถึงในน้ำมันที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากกระบวนการผลิต รวมไปถึงมีบริษัทบางแห่งที่ร้องเรียกต่อองค์การอาหารและยา ของสหรัฐฯ เพื่อจะใช้น้ำมันที่ถูกเติมไฮโดรเจนบางส่วนในกรณีพิเศษ ซึ่งการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันบางส่วนนั้นมีมาตั้งแต่สมัย ค.ศ.1950 โดยจะช่วยเพิ่มอายุของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความคงตัวของกลิ่นของอาหารแปรรูปจากโรงงานอุตสาหกรรม

แต่เมื่อวันนี้เราได้ทราบแล้วว่า การเติมไฮโดรเจนลงไปนั้นส่งผลให้เกิดไขมันทรานส์ และยังเชื่อมโยงตัวเราไปสู่โรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง รายงานวิจัยในปี 2002 โดย the NationalAcademy of Science’s Instutute of Medicine พบความสัมพันธ์โดยตรงของการกินไขมันทรานส์และการเพิ่มระดับของไขมันตัวไม่ดี (LD) และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ

อย่างไรก็ตาม Mical E. Honigfort เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคขององค์การอาหารและยา สหรัฐฯ ยังระบุว่า โรงงานบางแห่งยังคงใช้น้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในอาหารแปรรูปทางอุตสาหกรรม มีตัวอย่างของอาหารบางกลุ่มที่อาจจะมีน้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไป

แล้วผู้บริโภคควรทำอย่างไร

ทั้ง ดร.ซูซาน เมย์นี และ Mical E. Honigfortแนะนำว่าในช่วงเวลานั้น ถ้าเราหยิบอาหารโปรดและพบว่ามันมีไขมันทรานซ์อยู่ในฉลากโภชนาการ ทางที่ดีที่สุดคือ พิจารณาปริมาณของไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณของไขมันทรานซ์ที่ต่ำที่สุด ถึงแม้ว่าอาหารจะถูกเคลมในห่อของผลิตภัณฑ์ว่ามี “ไขมันทรานซ์ 0 กรัม” เป็นความคิดดีกว่าถ้าได้ดูลิสต์ส่วนประกอบของฉลากผลิตภัณฑ์ด้วย ภายใต้การวางข้อกำหนดตามกฎเกณฑ์ปัจจุบันบริษัทสามารถทำการเคลมข้อความดังกล่าวได้ถ้าอาหารชนิดหนึ่ง ๆ มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค แต่ถ้ามีการระบุว่ามีการใช้น้ำมันที่เติมไฮโดรเจนบางส่วน นั้นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์นั้นย่อมมีส่วนประกอบเป็นไขมันทรานส์ในปริมาณเล็กน้อย การเลือกอาหารหลาย ๆ ชนิดที่มีแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยของไขมันทรานส์ แต่เมื่อมารวมกันหลาย ๆ ชนิดเข้า เมื่อกินเข้าไปย่อมมีโอกาสที่จะกินมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญได้ 

อาหารที่มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์

แครกเกอร์ คุกกี้ เค้ก พายแช่แข็ง และขนมอบอื่น ๆ

ขนมกรุบกรอบ เช่น ป๊อบคอร์นบางชนิด

มาการีน

ครีมเทียม (ครีมเทียมที่เราใส่ในกาแฟหรือผลิตภัณฑ์ 3 in 1 ทั้งหลาย เป็นต้น)

ผลิตภัณฑ์แป้งบางอย่าง เช่น บิสกิตและซินนามอนโรล

อาหารแช่แข็งสำเร็จรูป

การกินไขมันทรานส์เข้าไปจะส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ