ณัฐษกรณ์ ทรงพรวาณิชย์

ณัฐษกรณ์ ทรงพรวาณิชย์

“เวลาเรานวดหรือกดกล้ามเนื้อเพื่อรักษาก็จะหนักมือทำจริงๆ คนที่โดนก็ร้องทุกคน (หัวเราะ) แต่ไม่ใช่ว่าจะหนักแบบนี้เหมือนกันทุกคนนะคะ ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป เราต้องรับผิดชอบนักเตะที่ได้รับบาดเจ็บคนเดียวทุกกรณี รวมถึงการจัดการการติดต่อสื่อสารหลายๆ อย่างเราก็เลยต้องทำควบคู่กันไป”

เธอเล่าถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบให้ได้ฟัง และบอกต่อไปว่าในช่วงแรกของการเป็นนักกายภาพบำบัดรู้สึกว่ารับไม่ได้ที่ในแต่ละวันต้องจับแต่เท้านักเตะ คนอื่นก็พูดสบประมาทเยอะว่ามันเหนื่อยเกินไป หมอตัวแค่นี้ทำไม่ได้หรอก ไม่ใช่งานสบายนั่งในห้องแอร์ต้องมาสัมผัสเหงื่อโดนหญ้าอยู่ตลอด

“จะว่าไปมันก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่เราต้องทำให้คนอื่นเห็นว่า ผู้หญิงก็ทำได้เหมือนกัน” 

ความเหนื่อยและหนักเหล่านี้กลับเป็นแรงผลักดันให้เธอก้าวข้ามอุปสรรคไปได้เป็นอย่างดี จนทุกวันนี้เธอกลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมมังกรไฟเต็มตัว ไม่ว่าทีมจะลงซ้อมเมื่อไหร่ แข่งขันที่ไหน จะขาดเธอคนนี้ไม่ได้เด็ดขาด

“บางวันที่ซ้อมเราก็อยู่กับทีมทั้งวัน แปดโมงเราต้องไปถึงที่ฟิตเนส นักเตะเริ่มเวทตั้งแต่เก้าโมงไปจนถึงบ่าย กินข้าวเรียบร้อยก็ย้ายไปซ้อมต่อที่สนามหนองจอก ถึงเวลากลับก็สามทุ่มแล้ว สัปดาห์นึงได้หยุดแค่วันเดียว หรือไม่ได้หยุดเลยก็มี”

“ถ้าเป็นวันแข่งทีมจะเก็บตัวที่โรงแรมก่อนหนึ่งคืน สมมติแข่งวันเสาร์วันศุกร์ซ้อมเสร็จก็จะเข้าโรงแรมเก็บตัวเลย บางนัดหากต้องไปเยือนทีมที่อยู่ต่างจังหวัดก็ออกเดินทางเช้า ซ้อมตอนเย็นอีกวันก็แข่ง ช่วงนี้เราจะทำงานถึงเที่ยงคืนเพื่อดูแลสภาพร่างกาย
ของนักฟุตบอลทุกคนให้พร้อม เช้าวันรุ่งขึ้นก็เริ่มทำงานตั้งแต่หลังกินข้าว พอถึงสนามงานก็จะเบา นักเตะก็จะรีแลกซ์พร้อมลงสนาม ถ้าไม่ทำแบบนี้ช่วงใกล้เวลาแข่งเราจะวุ่นมาก

“ช่วงก่อนหน้านี้จะเห็นเลยว่าสโมสรที่ไม่มีนักกายภาพบำบัดดูแลอย่างใกล้ชิด พอเปิดฤดูกาลแข่งขันมาได้ซักพักก็เริ่มมีนักเตะบาดเจ็บ เพราะเกมมันหนัก พอครึ่งฤดูกาลหลัง ก็ยังมีรายการอื่นๆ ที่ต้องลงแข่งขัน ตัวผู้เล่นจะไม่พอ บางทีมถึงขนาดเข็นนักเตะ
ลงสนามทั้งที่ยังมีอาการบาดเจ็บ เล่นไม่เต็มที่ก็ย่อมมีผลต่อเกม”

ระหว่างเกมการแข่งขันที่กำลังตึงเครียด แฟนบอลในสนามต่างส่งเสียงเชียร์ และมีอารมณ์ร่วมกับเกมราวเป็นผู้เล่นคนที่ 12 คอยกระตุ้นนักเตะให้เล่นกันจนลืมหายใจ จนบางจังหวะเมื่อนักเตะเกิดบาดเจ็บคนแรกที่ต้องลงไปปฐมพยาบาลในสนามก็ใช่ใครที่ไหน

“ก็มีเขินนะคะ เพราะด้วยบรรยากาศที่ตึงเครียดในเกม ถ้าเป็นผู้ชายวิ่งเข้าไปปฐมพยาบาลนักเตะก็เป็นธรรมดาที่แฟนบอลอีกฝั่งจะโห่ หาว่าถ่วงเวลา แต่พอเราวิ่งเข้าไปมันก็เบรกอารมณ์คนได้นิดนึง จนวิ่งออกมาจากสนามก็มีคนยิ้มทักทาย ขอจับมือบ้าง 
ค่อยยังชั่ว ไม่อย่างนั้นคงโดนโห่ (หัวเราะ)”

เมื่อไหร่ที่มีเวลาว่างเธอจะกลับบ้านไปดูแลแม่และคนที่บ้านเป็นประจำ เพราะคุณแม่ของเธอซึ่งเป็นโรค Bell’s Palsy หรือเส้นประสาทที่หน้าตก นั่นเองที่ทำให้เธอตัดสินใจเบนเข็มเข้ามาเรียนในสาขานี้ เพื่อจะได้ดูแลท่านได้อย่างถูกต้อง

เราเลยสงสัยว่าก่อนหน้านี้เธอเป็นแฟนฟุตบอล ดูหรือติดตามเชียร์บ้างหรือเปล่า คำตอบที่ได้ก็เหมือนผู้หญิงทั่วไปว่าไม่ชอบดูฟุตบอลเลย

“มาเริ่มอินกับฟุตบอลจริงๆ ก็ตอนมาเป็นนักกายภาพบำบัดแล้ว ตอนนี้เรียกได้เต็มตัวใครมาว่าทีมเราแบบไม่มีเหตุผลก็โกรธนะคะ(หัวเราะ) สโมสรในต่างประเทศที่เชียร์ก็มีเชลซี เพราะในทีมมีผู้หญิงเหมือนกัน ส่วนนักบอลที่ชอบก็เมสซี่กับคริสเตียนโน 
โรนัลโด้ ดูเขาเล่นแล้วสนุกพลิ้วดี

“สำหรับเป้าหมายสูงสุดในการเป็นนักกายภาพบำบัด ก็ไม่ได้ตั้งเป้าอะไรไว้สูงมาก แค่ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ให้คนเห็นว่าเราทำเต็มที่เท่านั้นก็พอแล้วค่ะ”

บทบาทของเธอแม้จะอยู่เบื้องหลังของสโมสรฟุตบอล