วิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ สืบสานตำนานลิเกไทย

วิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ สืบสานตำนานลิเกไทย

   ช่วงเวลาที่ผ่านมาลิเกมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพยุคสมัยมาโดยตลอด เพื่อให้ศิลปะแขนงนี้ดํารงอยู่ มีครูบาอาจารย์และ ผู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย พยายามให้ช่วยเหลือผลักดันให้ลิเกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อสู่ลูกหลานไทย และบรมครูลิเก ท่านหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้คืออาจารย์ วิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ ผู้เป็นหลานแท้ ๆ ของปรมาจารย์ลิเกไทย อย่างท่านอาจารย์ หอมหวน นาคศรี ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านลิเกมาสู่อาจารย์วิโรจน์โดยตรง

   อาจารย์วิโรจน์ได้รับการบ่มเพาะพื้นฐานการแสดงลิเกที่ถูกต้องเป็นผู้ใฝ่รู้สืบทอดวิชาการแสดงลิเกตามแบบแผน มีผลงานการแสดงเป็นที่ประจักษ์มากมาย ปัจจุบันท่านยังส่งต่อองค์ความรู้ให้กับลิเกรุ่นใหม่ จนได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลิเก) ในปี พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา

   “ในฐานะที่ผมเป็นลิเกและมีความรักความผูกพันกับลิเกมาอย่างยาวนานมีความภาคภูมิใจมากที่เป็นศิลปินแห่งชาติ การที่เราได้เป็นศิลปินก็ถือว่าว่าสุดยอดแล้ว แต่การได้เป็นแต่การเป็นศิลปินแห่งชาติ พอพูดแล้วมันตื้นตัน เพราะ ที่ผ่านมานอกจากการแสดงหน้าเวทีแล้ว ผมยังสอนการแสดงให้กับลูกศิษย์หลายคนไม่ได้เงินก็สอนขอให้เขาได้ ความรู้ก็พอ ในอีกด้านหนึ่งผมต้องขอบคุณครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาจนทําให้ผมประสบความสําเร็จในชีวิต ซึ่งผมจะเผยแพร่ความรู้ในศาสตร์นี้จนสิ้นลมหายใจหรือจนกว่าหมดกําลังที่จะทําได้”

   อาจารย์ วิโรจน์ เกิดในครอบครัวลิเก มีพี่น้อง 7 คน โดยมีพื้นเพเป็นคนบางปะหัน อยุธยามีคุณตาชื่อ หอมหวล นาคศิริ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะลิเกหอมหวลชื่อดังในยุคนั้นทําให้มีโอกาสสัมผัสการแสดงลิเกตั้งแต่เด็กซึ่งการหัดลิเกนั้นต้องเริ่มจากใจรัก ตามมาด้วยการฝึกพื้นฐาน ซึ่งคุณตาหอมหวนได้สอนการร้องราชนิเกลิง โดยมีแม่ครูน้อม ละคร ในวังเก่าหัดท่ารํารวมทั้งครูอีหลายท่านในการฝึกหัด

   “ผมเริ่มหัดเล่นลิเกตอนอายุประมาณ 12-13 ปีในตอนเช้าอาจารย์ หอมหวนจะฝึกเด็ก ๆ มาอบรมอย่างเข้มงวด เริ่มทําการซ้อมรําเพลง แม่บทซึ่งเป็นบทเริ่มต้นของนาฏศิลป์ และการแสดงต่างๆ รำเดินเชิดไป จนกระทั่งเกิดความชํานาญเรื่องการร่ําไปถึงการให้เรื่องท่องกลอนรับบท เป็นตัวละคร

   “การจะเป็นลิเกได้ต้องใฝ่หาความรู้มาโดยตลอด การฝึกลิเกตอนเด็กจะว่ายากมันก็ยาก ถ้าหากว่ามีใจรักผมว่าเรียนไปแล้วก็เพลิน แต่การแสดงลิเกถ้าเราไม่มีประสบการณ์ ความชํานาญหรือว่าเคยเห็นมาบ้างจะเป็นเรื่องยาก อย่างผม อยู่โรงลิเกมาตั้งแต่เด็กพอเห็นผู้ใหญ่เล่นเราก็ดูได้สัมผัสตลอดเวลา มันเริ่มฝังจิตใจเกิดความรัก พอรักก็อยากทําให้เกิดความสําเร็จเพราะเราทําในสิ่งที่เรารักเราก็ต้องทําให้ได้ คือซ้อมจนกระทั่งได้ออกวิก ตอนนั้นจึงไม่ค่อยได้มีเวลาไปเที่ยวเตร่ที่ไหน”

   การแสดงของอาจารย์วิโรจน์คณะหอมหวลรุ่นพิเศษ เริ่มมีชื่อเสียงในฐานะพระเอกในระหว่างนี้ท่านได้สะสมประสบการณ์การแสดงหลายปี จนกระทั่งมั่นใจว่ามีความสามารถมากพอ ภายหลังจากอุปสมบท พ.ศ.2508 คุณตาหอมหวลอนุญาตให้เป็นหัวหน้าคณะลิเกเองโดย ใช้ชื่อคณะว่า “วิโรจน์หอมหวล” มีการเดินสายเปิดวิก การแสดงเป็นที่นิยมในสมัยนั้นทําให้ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักขึ้นมา

   “งานแสดงของลิเกส่วนใหญ่พวกเราจะพักผ่อนในช่วงเข้าพรรษาหน้าฝน ระหว่างนี้ก็มีการคิดเรื่องราวใหม่ ๆ เตรียมอุปกรณ์การแสดงอย่างหอกดาบให้พร้อม ส่วนนักแสดงก็รักกันมากเพราะงานมันเยอะจึงไม่ค่อยได้ไปไหนกันหรอก แต่บางคณะอยากออกแสดงก็ได้ แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงกับสภาพอากาศ หลังจากออกพรรษาจะมีงานเข้ามาตั้งแต่งานกฐิน ลอยกระทง ปีใหม่ สงกรานต์ ในช่วงที่คณะผมมีชื่อเสียงเรียกได้ว่าออกงานแทบทุกวันเลย ขนาดที่ว่าหากเจ้าภาพมาติดต่อแล้วตรงคิวของผม เจ้าภาพจะเลื่อนงานเพื่อคณะของเรา

    “สมัยก่อนจํานวนคนในคณะลิเกมีไม่มากเท่าไหร่ อย่างมากผู้ชายก็ 8-9 คน ผู้หญิง 5-6 คน คือการแสดงจะทําการล็อกเอาไว้ด้วยเนื้อเรื่องการแสดงจึงกระชับด้วยจํานวนคนประมาณ 10 คน จึงทําให้ดูว่ามีจํานวนคนมาก แล้วเวที่ไม่ได้ใหญ่นักแค่ 6-7 เมตรจึงใกล้ชิดถึงคนดู

   “จํานวนคนดูสมัยก่อนมีเยอะกว่าสมัยนี้มาก แล้วคนแสดงจะโชว์ฝีมืออย่างเต็มที่ ลิเกสมัยก่อนไปที่ไหนดูกันล้นหลามไม่ว่าจะเป็นคณะของใครก็ตามที่มีชื่อเสียง แต่สมัยนี้ถ้าไม่มีชื่อเสียงจริง ๆ จะอยู่ยาก คนน้อย แต่บางทีบางคณะก็มีแฟนคลับพอสมควร เด็กสมัยนี้เก่ง เขาพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ต่างคนต่างมีความคิด สร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนกันไป

   “ส่วนเรื่องของแม่ยกนั้นมีมาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์คือ ลิเกเข้ากับคนง่าย เวลาเราไปทําการแสดงก็ต้องหาที่พึ่ง ไว้ก่อนอย่างเจอใครก็ไหว้คุณพี่คุณแม่คุณลุงครับ เกิดจากความอ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งครูบาอาจารย์ทุกคนท่านจะ สอนไว้ว่าต้องอ่อนน้อมถ่อมตน พอคนเขามาดูลิเกเขาจะนําปัจจัยมาให้ซึ่งสมัยก่อนไม่ได้มีอะไรมากมายนัก

   “สาเหตุที่เขาเรียกว่าแม่ยกความจริงคือลิเกพอเวลาไปไหนมาไหนไปเล่นตามวิกต่างจังหวัดมันลําบาก เราก็ต้องรู้จักคนนั้นคนนี้คือให้ความสนิทชิดเชื้อ ไปเล่นที่ไหนก็ต้องอ่อนน้อมถ่อมตนมันถึงจะอยู่รอด ถ้าเป็นลิเกมีชื่อเสียงชาวบ้านเขาก็สนับสนุน แต่สมัยนี้เขาไม่เรียกพ่อยกแม่ยก เขาเรียกว่าแฟนคลับมีเป็นกลุ่ม ๆ กันไป

   “แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความใกล้ชิด อย่างที่เขาบอกว่า รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตํารวจ คือรถไฟเรือเมล์ ใกล้ชิดแม่ค้าทุกวัน หรือตํารวจก็ใกล้ชิดคนที่ไปติดต่อราชการ ส่วนลิเกพอไปทําการแสดงก็ใกล้ชิดกับผู้ชม ซึ่งตรงนี้ต้องแล้วแต่กรณีแล้วแต่คน ว่าเราต้องแยกแยะให้ออกไม่เกินเลยต่อศีลธรรมเราก็ต้องระมัดระวังตัว แต่ผมคิดว่าสิ่งดีงามมันยังคงอยู่”

   การแสดงลิเกของอาจารย์วิโรจน์ มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น เปิดวิกที่ไหนคนก็แน่นขนัด และ ดังจนขนาดได้รับเชิญให้ไปแสดงลิเกทางทีวี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสมัยนั้น ทําให้ต้องมีการฝึกแสดงเนื้อร้องจากหนังสือวรรณคดีและบทราชนิพนธ์ มาแต่งบทร้อง ซึ่งอาจารย์วิโรจน์ก็ทําได้ดีจนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

   “สมัยก่อนกว่าที่จะไปออกทีวีแต่ละครั้งมันยากเย็นแสนเข็ญมาก ไม่ใช่คิดอยากจะไปออกตอนไหนก็ได้ ผมทําการแสดงในต่างจังหวัดหลายที่จนมีชื่อเสียงพอสมควรจากนั้นเข้ามาดังในสื่อวิทยุก่อน จึงมีการติดต่อให้เข้ามาแสดงทางทีวี ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีของผมที่เข้าไปแสดงลิเกพันทางทําให้เรามีคนรู้จักมากขึ้น จากนั้นจึงมีงานเข้ามาให้ไปแสดงมากมาย

   “ผมทําการแสดงลิเกผ่านยุคสมัยมาเยอะได้ทําอะไรหลายอย่าง เช่นเรื่องของการแต่งเพลงผมมีโอกาสแต่งเพลง “ชาละวันสัญจร” ให้กับ เสรี รุ่งสว่าง ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ดังเพลงหนึ่ง การแต่งเพลงนี้เริ่มมาจากผมคุยกับคุณบรรหาร ศิษย์หอมหวล ซึ่งเป็นลิเกรุ่นน้องแล้ว เสรี รุ่งสว่าง ก็เข้ามาร่วมพูดคุยพอดี เขาบอกว่าให้ผมลองเขียนเพลงมาให้เขาร้องสักหนึ่งเพลง ผมก็มานั่งคิดว่าตอนนั้นน้ําท่วมกรุงเทพพอดี แล้วมีจระเข้หลุดออกมาจากบ่ออาละวาด ผมก็แต่งโดยอิงเนื้อหาเรื่องการเมืองเข้าไปนิดหน่อย พอแต่งเสร็จทําออกมาเป็นเพลง เสรีเขาชอบมากเอาไปร้อง ก็เพลงนี้ก็ดังมากในยุคนั้น

   “ความฝันของผมก็คิดว่านอกจากการเป็นลิเกแล้ว เราจะทําอย่างอื่นได้ไหม อย่างการเป็นนักแสดงเหมือน คุณเสน่ห์ โกมาลาชุน หรือเป็นอย่างคุณพรภิรมย์ ที่เป็นลิเกและครูเพลง ซึ่งผมก็ไม่ได้จํากัดว่าจะต้องเป็นอะไรมีงานอะไรที่ผมทําได้ก็ทํามาเรื่อย ๆ ผมเป็นครูสอนลูกศิษย์หักลิเก หรือเป็นอาจารย์สอนเรื่องนาฏศิลป์ไทยให้กับองค์กรต่าง ๆ ช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ทําวิทยานิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับลิเก ทั้งระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท เราก็ให้ความรู้พวกเขาไป

   “ปัจจุบันศิลปะการแสดงลิเกถ้าเรามองจริง ๆ มันคือศิลปะที่อยู่คู่กับชาวบ้าน มาอย่างยาวนาน บุคคลทุกระดับสามารถรับชมได้ด้วยความรู้สึก ผมคิดว่ามันคือศิลปะที่ล้ําค่า ผู้แสดงจึงจําเป็นต้องมีความรู้อย่างถ่องแท้จึงประสบความสําเร็จเพราะต้องเอาใจใส่ผู้ชมทุกระดับ การแสดงลิเกจึงต้องปรับตัวให้กับสภาพสังคม ถ้าเป็นลิเกทรงเครื่องโบราณเขาจะไม่ค่อยมีสอดแทรกเหตุการณ์บ้านเมืองเท่าไหร่เขาจะเล่นไปตามเนื้อเรื่องที่กําหนด ส่วนลิเกยุคหลังมีการประยุกต์เรื่องของเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าไปด้วยเพื่อความสนุกของผู้ชม เป็นการจารึกประวัติศาสตร์ด้วยว่า ยุคหนึ่ง สมัยหนึ่งลิเกก็มีประวัติศาสตร์ที่ว่านําเหตุการณ์บ้าน เมืองมาแสดงกัน

   “ส่วนตัวผมถ้าแสดงเอง ผมเองจะสอดแทรกประเด็นเรื่องของความเป็นภัยต่อสังคม ตักเตือนเยาวชนของชาติ ยาเสพติด สร้างความรักความสามัคคี แล้วเราจะเทิดทูนสถาบันเป็นอันดับสูงที่สุด อาจสอดแทรกสาระและความสนุกเข้าไปโดยที่เยาวชนไม่รู้ตัวถ้าเราไปทําการแสดงที่ใดต้องดูว่าสถานที่แห่งนั้น ควรจะสอดแทรกสิ่งใดเข้าไปได้บ้าง เหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างไร สมมุติว่า คนเราตอนนี้ไม่ค่อยมีความสามัคคีเราก็สอดแทรกเรื่องนี้เข้าไป ซึ่งเราต้องเอาสถาบันมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมถึงความกตัญญูต่อ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ก็สําคัญ

   “สิ่งสําคัญคือเยาวชนที่มาดูว่าเราทําการแสดงนั้น ถ้าเราทําการแสดงที่เก่าคร่ําครีเกินไปเขาจะไม่มาดู แต่ถ้ามันสมัยใหม่เกินไป ศิลปะของเราจะดูไร้ค่า ต้องให้มันเข้ากันได้ระหว่างของเก่ากับ ของใหม่ ให้เข้ากับเยาวชนให้เขารู้จักรักษากฏกติกาของกฎหมาย ระเบียบอย่างถูกต้อง

   “ผมอยากฝากบอกลูกศิษย์ทุกคนเราควรมองว่า ลิเกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าแล้วภูมิใจในอาชีพของเราเสมอ ภูมิปัญญาพื้นบ้านคือ ลิเก ได้ถูกบรรจุลงไปในภูมิปัญญาการแสดงของศิลปวัฒนธรรม เขายกย่องแล้วเราจึงควรกระตือรือร้นในสิ่งที่เขามอบให้เรา ผมอยากบอกว่าลิเกที่เกิดมาตอนนี้ไม่ได้เกิดมาคนเดียวมีครูบาอาจารย์คอยช่วยเหลือเสมอ จึงอย่าทิ้งพื้นฐานของบรรพบุรุษ การเป็นลิเกต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ายุคสมัยด้วยวิธีที่หลากหลาย แต่ต้องยึดพื้นฐานของการแสดงลิเก จึงอยากให้ช่วยกันรักษาอนุรักษ์สืบทอดต่อไป”

Did You know

   • ครูที่ช่วยฝึกฝนอาจารย์วิโรจน์นั้นมีมากมายอาทิ อาจารย์หอมหวล, แม่ครูน้อม รัตประจิต หัดท่าแม่บท แม่ครูชื่น หัดท่ารําออกภาษา, แม่ครูแนบ หัดบทสมิงพระราม, แม่ครูละออง หัดบทสมิงนครอินทร์ในเรื่อง ราชาธิราช, แม่ครูเกษร หัดบทพระอภัยมณี, แม่ครูลําแพน หัดบท พระสุธน, ครูสุดจิตต์ ครูสุรางค์ ดุริยะพันธุ์ ผู้ฝึกสอน เพลงไทย, ครูบุญยัง เกษคงค์ฯลฯ

   • ผลงานหนึ่งที่อาจารย์วิโรจน์ภาคภูมิใจคือได้รับโล่พระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในงานลิเกการกุศลสร้างตึก “สยามมินทร์”

   ท่านเคยเป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอนในละครเรื่อง “เขยลิเก”, สาธิตการแสดง ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ของธนาคารกรุงเทพ หลายครั้ง, แต่งบทเรื่อง “จันทโครพ ช่วยข้าราชการฝึกซ้อม และแต่งบทเรื่อง “สงครามพิศวาส” ฝึกซ้อมและแต่งบท ร่วมแสดงรายการลิเก “ภาษา” เรื่องขุนพลใจเพชร, แต่งบn เรื่อง “สุสานนักรบ”, แต่งบทและร่วมแสดง เรื่อง ราชาธิราช ตอน ศึกมังมหานรทาถึงตัดหัวฉางกาย, ให้คณะ “พรสวรรค์” ฝึกซ้อมและร่วมแสดงเรื่อง “อิเหนา

   • นอกจากนี้ท่านยังได้รับรางวัลเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พ.ศ. 2551 อีกด้วย

 

 

 

 

หลานแท้ ๆ ของปรมาจารย์ลิเกไทย ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านลิเกมาสู่อาจารย์วิโรจน์โดยตรง