ปรากฏการณ์ ลิซ่า BLACKPINK วัฒนธรรม เพื่อการสร้างชาติ

ปรากฏการณ์ ลิซ่า BLACKPINK วัฒนธรรม เพื่อการสร้างชาติ

ปรากฏการณ์ ลิซ่า วง BLACKPINK ที่ได้ปล่อยมิวสิกวิดีโอเพลง LALISA โดยสวมชุดไทยและใส่รัดเกล้า ได้สร้าง กระแสวัฒนธรรมไทย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบลิซ่าแสวงหาชุุดไทยและรัดเกล้ามาสวมใส่เพื่อให้เข้ากระแส ส่งผลให้ย่าน การค้าส่งค้าปลีกเสื้อผ้าที่เคยซบเซากลับมาคึกคักอีกครั้ง ปรากฏการณ์นี้จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

นิตยสาร CEO WORLD ได้จัดอันดับประเทศที่ทรงอิทธิพลสูงสุดด้านวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้อันดับที่ 5 จาก 165 ประเทศ จึงนับเป็นข้อได้เปรียบสำหรับประเทศไทย ในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่ได้นำวัฒนธรรมมาใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่และอย่างเป็นระบบ เราจึงควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมที่มีต่อ การพัฒนาประเทศ และให้น้ำหนักกับการเพิ่มมูลค่า เศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรมมากขึ้น

1. ความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศ

วัฒนธรรมนับเป็นทุนหรือทรัพยากรที่สามารถสร้างผลกระทบต่อการพัฒนา เศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง โดยส่งผลกระทบผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ 

1) ผลกระทบทางตรง วัฒนธรรมช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและคุณค่าให้สินค้า และบริการ เนื่องจากวัฒนธรรมสะท้อนเอกลักษณ์ของประเทศ กลุ่มคน หรือพื้นที่วัฒนธรรมจึงช่วยสร้างความแตกต่างหรือเอกลักษณ์ของสินค้าและบริการซึ่ง เลียนแบบได้ยาก ประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญกับการนำวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มและคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยกำลังสูญเสียความ สามารถในการแข่งขัน และมีความเสี่ยงที่จะติดกับดักรายได้ปานกลาง จากการที่ค่าจ้างแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ความน่าดึงดูดการลงทุนลดลง และเผชิญกับการแข่งขัน ประเทศเพื่อนบ้าน 

2) ผลกระทบเหนี่ยวนำวัฒนธรรมช่วยสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้า และบริการของประเทศได้ การเผยแพร่วัฒนธรรมและสร้างความรู้จักคุ้นเคย ทางวัฒนธรรม จะช่วยสร้างอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการของไทยมากขึ้น ดังตัวอย่าง การส่งออกวัฒนธรรมของประเทศเกาหลี เช่น ซีรีย์เกาหลี และเพลง K-Pop ส่งผลทำให้คนทั่วโลกต้องการรับประทานอาหารเกาหลี ท่องเที่ยวเกาหลี และ ใช้สินค้าของเกาหลีมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการทำศัลยกรรมให้เหมือนดาราเกาหลี 

3) ผลกระทบทางอ้อม เมื่อกล่าวถึงทุนวัฒนธรรม เรามักให้น้ำหนักกับการ นำทุนวัฒนธรรมไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ แต่ในความเป็นจริง ยังมีวัฒนธรรมในแง่ปรัชัญา ค่านิยม วิถีชีวิต และลักษณะชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น ความขยัน อดออม รักการเรียนรู้ ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เอาจริงเอาจัง เป็นต้น

2. การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม

ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่ต่างชาติให้ความสนใจ จึงมีโอกาสพัฒนาศักยภาพ ด้านวัฒนธรรมได้ แต่ที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมมักเป็นไปตามความ สามารถของภาคเอกชน เช่น การส่งออกละคร ภาพยนตร์ แต่ภาครัฐยังไม่สามารถ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมอย่างเต็มที่เนื่องจากขาดการขับเคลื่อน อย่างจริงจัง และขาดโครงสร้างที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในภาพรวม ผมจึงขอเสนอ แนวคิดการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม ดังนี้

2.1 การพัฒนาสายโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ของอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมทุกกิจกรรมใน Smiling Curve ดังนี้การวิจัย พัฒนา และสร้างแนวคิดเกี่ยวกับสินค้าวัฒนธรรม โดยการสนับสนุน งบประมาณการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรม เช่น การเก็บค่าทดสอบวัดระดับทักษะมวยไทย การพัฒนาเมืองให้ประเทศไทยเป็น Hollywood ของเอเชีย หรือ Thallywood เป็นต้น

การสร้างแบรนด์ประเทศไทย เพื่อสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้เกี่ยวกับ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าและบริการของไทย ทำให้ แบรนด์ประเทศเป็นที่รู้จักเช่น การจัดโครงสร้างหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการ สร้างแบรนด์ประเทศ การจัดทำแผนประเทศในการสื่อสารแบรนด์ปร ะเทศ เป็นต้น การออกแบบทางวัฒนธรรม โดยการส่งเสริมการผลิตนักออกแบบที่มีความสามารถสูง การให้ทุนการศึกษาไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ในโลกการพัฒนาศาสตร์การออกแบบในสาขาต่าง ๆ การพัฒนาทรัพยากรหรือ แหล่งเรียนรู้สำหรับการออกแบบทางวัฒนธรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมการ ออกแบบทางวัฒนธรรม เป็นต้น

การส่งเสริมผลิตทางวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการลงทุน ในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม การพัฒนาจุดขายทางวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด อำเภอและชุมชน การพัฒนามาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าและบริการ ทางวัฒนธรรม การพัฒนาการตลาดสินค้าและบริการวัฒนธรรม โดยการส่งเสริมการผลิตและ ส่งออกทางวัฒนธรรม การส่งเสริมการส่งออกบุคลากรทางวัฒนธรรม การทำตลาด เชิงรุกให้กับสินค้าและบริการวัฒนธรรม การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ละครและภาพยนตร์ไทยในต่างประเทศ การดึงดูดกองถ่ายต่างประเทศมาถ่ายทำภาพยนตร์ ที่ประเทศไทย เป็นต้น

2.2 การพัฒนาวัฒนธรรมในแง่แบบแผนวิถีชีวิตและค่านิยมสังคม การพัฒนาแผนวิถีชีวิตและค่านิยมสังคม ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ จำ เป็นต้องส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดี และปรับปรุงวัฒนธรรม ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ โดยการปฏิรูปแบบครบวงจร ทั้งคน ระบบ และบริบททางวัฒนธรรม ปฏิรูปคน เช่น การสร้างต้นแบบผู้นำ ในสังคมไทยกลุ่มต่าง ๆจากกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อสังคม การสนับสนุนให้คนที่มีคุณลักษณะที่ดีขึ้นเป็นผู้นำในสังคม การให้รางวัลบุคคลต้นแบบและเผยแพร่เกียรติประวัติผ่านสื่อต่าง ๆ การส่งเสริม การสร้างคนดี เก่ง กล้า เป็นต้น ปฏิรูประบบ เช่น การมอบหมายให้ทุกหน่วยงานของรัฐส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ดีของสังคมตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน การส่งเสริมให้ทุกองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่่ดี เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ดี การพัฒนาปรัชญาการเรียนรู้เพื่ออัตตา เพื่อชีวา เพื่อปวงประชา เป็นต้น ปฏิรูปบริบท โดยการปฏิรูปบริบทต่าง ๆ ทั้งการเมือง กฎหมายสื่อสารมวลชน เศรษฐกิจ สังคม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแบบแผนวัฒนธรรม วิถีชีวิต และ ค่านิยิมที่ดีงาม

ประเทศไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นและหลากหลาย และเป็นโอกาส ในการนำไปต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการขับเคลื่อนประเทศ ผมหวังว่า แนวคิดการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นของไทย จะมีส่วนช่วย ในการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญยั่งยืนได้

โดยสวมชุดไทยและใส่รัดเกล้า ได้สร้าง กระแสวัฒนธรรมไทย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบลิซ่าแสวงหาชุดไทยและรัดเกล้ามาสวมใส่