โดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดาย บทร้องไห้จาก “เบอร์ลิน ๒”

โดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดาย บทร้องไห้จาก “เบอร์ลิน ๒”

ในที่สุด...ก็ถึงวันสำคัญสำหรับการเรียนหนังสือพิมพ์ของฉันก็คือการสอบ อย่างที่ ต้องบอกว่ามันเป็นการเรียนและการสอบที่สาหัสสากรรจ์ แตกต่างไปจากที่ฉันเรียน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสอบมีสองรอบ คือรอบแรกเป็นการเขียนเปเปอร์เป็นภาษาอังกฤษหมด ส่วนรอบสองคือต้องไปฝึกทำงานกับหนังสือพิมพ์เยอรมัน ที่มีเลือก ๒ ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า “BERLINER MORGANPOST” ฉันเลือกฉบับหลังที่เรียกว่าเป็นแบบ “แทบลอยด์” ชื่อ “บิล ไซตุ้ง” (BILD ZEITUNG) เป็นหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก ที่บ้านเรายังไม่มีทำกันในตอนนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ขายดี ที่สุดของเยอรมัน จำนวนพิมพ์ขายวันละ 2,000,000 ฉบับ

ฉันมีความหมายมั่นปั้นมือว่า ถ้ากลับมาเมืองไทยฉันจะทำหนังสือพิมพ์เล่มเล็กนี้ เป็นฉบับแรกก่อนใครทั้งนั้น ผลการสอบของฉันอยู่ในขั้นปานกลาง เพราะปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของฉันที่ ไม่ถููกแกรมม่า อาจารย์ผู้สอนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเราเป็นสถาบันหนังสือพิมพ์ นานาชาติ ผู้เรียนสำเร็จทุกคนจะต้องไปทำงานต่างประเทศได้ ไม่ใช่เพราะประเทศของตนเท่านั้น (ต้องขอบคุุณอาจารย์เยอรมัน เพราะหลังจากนั้นฉันก็ได้ไปทำงานที่ประเทศอเมริกา ได้ฝึกงานกับหนังสือพิมพ์ “เดลี่เอ็กซ์เพรน” ที่เมืองคลิฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ) นักศึกษาทุกคนได้คะแนนที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่เอ,บี,ซี ไปจนถึงเอฟ ซึ่งหมายถึงสอบ ไม่ผ่าน เรื่องการศึกษาของคนเยอรมันเป็นเรื่องซีเรียสมาก เราจะต้องใช้ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน จะสอบตกไม่ได้ “สถาบันวิชาการหนังสือพิมพ์นานาชาติ” แห่งกรุงเบอร์ลินซึ่งอยู่เครือของ “ฟรี ยูนิเวอร์ซิตี้ แห่งกรุงเบอร์ลิน” ได้ร่วมกันจัดงานฉลองความสำเร็จของพวกเรา ที่สโมสรของหนังสือพิมพ์ “เบอร์ลินเนอร์ โมแกนโพสต์” ก็คือสถานที่ฉันได้ฝึกงาน

อาจารย์อนุญาตให้เราพาเพื่อนมาร่วมฉลองด้วย คืนนั้น “ดูรีส” สวยกว่าทุกครั้งที่เราเจอกัน เธอแต่งชุดราตรียาวสีขาวงามราวกับ เจ้าหญิงในเทพนิยายกริมส์ นักประพันธ์ชาวเยอรมัน “ดู...รู้ไหมคุุณสวยที่สุดในงานนี้” ฉันบอกกับ “ดูรีส” ตามความเป็นจริงที่เห็น “สันติ ฉันมาฉลองความสำเร็จให้เธอ ฉันจะต้องทำให้เธอประทับใจจะได้คิดถึงฉัน เมื่อวันที่เราจากกันไป” “ดู...ฉันจะไม่จากเธอหรอก อย่าวิตกไปเลย” คืนนั้นฉันไม่ได้กลับโฮสเตล ไม่ใช่เพราะเหตุผลรถใต้ดินหมดหลังเที่ยงคืน เหมือนเมื่อ คราวเราไปเที่ยว “ริเวอร์โบ๊ต” อินเตอร์เนชั่นแนลสติเดียน คลับ ของเบอร์ลิน “ให้ผมไปนอนค้างบ้านคุณนะ” “ดูรีส” ไม่ได้ตอบ เราจูงมือกั้นไปขึ้นรถ“ออโต้บานท์”รถเมล์สองชั้น ซึ่งมีเฉพาะ กรุงเบอร์ลินแห่งเดียวในเยอรมัน เรานั่งอยู่ชั้นบนของรถ มองดูความงดงามของกรุงเบอร์ลินยามค่ำคืน อากาศในเดือนธันวาคม เริ่มฤดูหนาวแล้วอีกไม่กี่วันหิมะก็จะตกลงมาท่วมเมือง ใบไม้ตามต้นไม้ใหญ่ของ “โพล์คปาร์ค” หรือสวนสาธารณะทิ้งใบเหลือไว้แต่กิ่งก้านที่เก้งก้าง มองดููแล้วหดหู่ใจ เรากอดกันตลอดเส้นทางจาก“ด่านชาลี เช็คพ้อยท์” ไปจนถึงย่าน TEGEL สถานที่ รัฐบาลเยอรมันสร้างขึ้นให้กับครอบครัวที่สูญเสียทุกอย่างจากภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ผ่านมาได้เพียงสิบกว่าปี

“ดูรีส” เธออยู่คนเดียวลำพัง ครอบครัวของเธอถูกทหารพันธมิตรฆ่าตาย ในระหว่าง เข้าโจมตีเมื่อปี ค.ศ.๑๙๔๕ ฉันยังไม่ได้เดินทางกลับกรุงเทพในเดือนนั้น รัฐบาลเยอรมันที่ให้ทุนฉันมา ต้องการ ให้ฉันและเพื่อนได้เห็นเยอรมันและรู้จักเยอรมันด้วยตัวเอง เราเลือกเส้นทางตามที่เราต้องการซึ่งไม่เหมือนกัน บางคนชอบการค้าก็ขึ้้นทางเหนือ มีเมืองใหญ่เช่นฮัมบูรก์ คนที่ชอบการช่างก็เลือกเส้นทางกลางประเทศที่มีเมือง “เคสเดน” เป็นเมืองอุตสาหกรรม สำหรับฉันเลือกจะลงทางใต้ ที่มีเมือง “มึนเซ่น” แห่งรัฐบาวาเรียเป็นเมืองใหญ่ เส้นทางนี้ฉันได้ล่องเรือในแม่น้ำไรน์ที่เป็นแม่่น้ำใหญ่ที่สำคัญของเยอรมัน สองฟาก แม่่น้ำจะมีปราสาทโบราณตั้งอยู่บนเนินเขาบ้างบนยอดเขาบ้างมากมาย

แต่ละปราสาทก็มีเรื่องราวที่เล่าขานกันแตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญฉันมีความผูกพันกับ “ปราสาทโบราณไฮเดิลเบิร์ต” ที่มีเรื่องราวแปลก อย่างเช่น งานจัดคืนปล้นปราสาท สร้างเรื่องราวที่จำลองมาแต่ครั้งอดีตสมัยที่เยอรมัน ยังเป็นนครรัฐ รบราฆ่ากันอย่างโหดร้าย ที่ปราสาทนี้จะมีถังใส่องุ่นไวน์ใหญ่ที่สุดในเยอรมัน เรียกว่าให้คนในปราสาทซึ่งมีอยู่ เป็นจำนวนนับร้อยดื่มได้ตลอดทั้งปี กลับจากทัวร์เยอรมันตะวันตก ทีเรียกเช่นนี้ก็เพราะเบอร์ลินจัดว่าเป็นเยอรมันตะวันออก เขตแบ่งแยกการปกครองของคอมมิวนิสต์

เรายังมีเวลาที่จะอยู่ในเบอร์ลินได้อีกหลายเดือน เพราะมีนักศึกษาบางคนต้องการ จะเรียนต่อทั้งการเรียนในระดับปริญญาโท หรือบางคนต้องการจะศึกษาภาษาเยอรมัน ให้แตกฉาน สิ่งทั้งหลายนี้รัฐบาลเยรมันยินดีสนับสนุน “สันติ รู้ไหมว่าทำไมรัฐบาลเยอรมันจึงยินดีให้นักศึกษาจากต่างประเทศต่าง ๆ อยู่ใน เบอร์ลิน” ดูรีสถามฉัน เมื่อไม่ได้ตอบเธอเพราะไม่เข้าใจเหตุุผล เพราะคิดเพียงว่ารัฐบาล เยอรมันต้องการให้เราได้เรียนวิชาหนังสือพิมพ์ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นสื่อมวลชนสำคัญ มากที่สุดของทุก ๆ ประเทศ “เพราะว่ารัฐบาลเยอรมันต้องการให้เบอร์ลินเป็นเมืองเสรีชนสำหรับคนหนุ่มสาวที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้กับเมืองที่เสียหายไปกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์” “คนหนุ่มสาวอย่างเรานี่ล่ะ จะเป็นผู้ร่วมสร้างเบอร์ลินให้เกิดขึ้นอย่างสง่างาม จากซากปรักหักพังเหล่านี้ เพราะฉะนั้นมีสิ่งใดที่เยอรมันจะทำได้รัฐบาลก็จะทำ” “เมื่อ “ดูรีส” อธิบายเช่นนั้้น ฉันจึงเข้าใจเพราะทุกวันจะมีชาวยิว ซึ่งเคยถูกกล่าว ว่าเป็นศัตรููสำคัญของคนเยอรมัน แต่ก็มีพวกยิวเดินทางเข้ามาเที่ยวเบอร์ลิน โดยการ สนับสนุนให้เงินจากรัฐบาลเยอรมัน

สิ่งนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการสำนึกในความผิดที่คนเยอรมันเคยทำไว้กับคนยิว หรือ จะเรียกแบบคติไทยก้ต้องเรียกว่าเป็นการไถ่บาปทีเคยทำไว้ก็ได้เช่นกัน ตลอดระยะเวลานานกว่าสองเดือนที่ฉันยังไม่ได้กลับประเทศไทย แม้ว่าตั๋วเดินทาง ของสายการบิน “ลุฟท์ฮันซ่า” เปิดโอเพ่นไว้แล้วว่า ฉันจะกลับเมื่อไหรก็ได้ ระยะเวลาที่น้อยนิดทำให้ฉันอยากจะทำในสิ่งที่ใหญ่ เพื่อความประทับใจกับมหานคร แห่งความรักทั้งความรักที่จะเรียนรู้และรักที่จะได้เรียนรัก ฉันอยากจะทำให้สิ่งที่ฉันไม่ได้ทำอย่างเช่น “ดูรีส” กับฉันจะเข้าไปกินอาหารร้าน หรูหราแพงที่สุดย่าน “คูดัมม์” เพราะเป็นเวลานับปีที่ฉันต้องกินอาหารทำเองในครัวกลางของโฮสเต็ล หรือบางครั้งมีเงินที่พอจะเหลือบ้างจากการจ่ายให้ของรัฐบาล ฉันก็จะไปร้านอาหารจีน กินเมนูที่กินได้ทุกครั้ง ถึงจะเบื่อแต่ก็จะกิน เพราะเมื่อตักถั่วงอกผัดใส่ปาก และพยายามจะบอกกับตัวเองว่ามันคือ “จ๊อบสุย” ตามภาษาเยอรมันเรียก แต่ความจริงคำนี้มากจากคำว่า “จับฉ่าย” ที่หมายถึงการเอาผักหลายอย่างมากผัดรวมกัน ซึ่งมันไม่ใช่ แต่ก็่ยังมีความสุขที่ได้กินกับข้าวสวยร้อน ๆ กินกับ พริกผัดน้ำมันคลุกเคล้ากันไป บางคืน “ดูรีส”พาฉันไปเที่ยว “บาร์กระเทย” ที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “เคซีบาร์” มันเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญก็เพราะเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ชื่อว่ามีบาร์ “คาร์บาร์เรด”จะมีกระเทยเหล่านี้ออกมาแสดง

ซึ่งต่อมาก็มี หลายประเทศ ทำตามรวมทั้งที่บ้านเราเช่นกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันได้ทำอย่างที ่“ดูรีส” จะไม่รู้ก็คือ ฉันแอบปีนขึ้นบนอาคารร้างที่อยู่ แถวย่าน “เวดดิ้ง” และนั่งอยู่บนตึกสูงขนาด๕ ชั้น เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเบอร์ลิน ตั้้งแต่เช้า ไปจนบ่ายและค่ำคืน “เบอร์ลิน” สวยทุุกเวลา สวยจนฉันอยากจะร้้องไห้ถ้าจะต้องจากเมืองนี้ไป “สถาบันหนังสือพิมพ์นานาชาติ” แห่งกรุงเบอร์ลินให้อิสระเสรีที่จะได้ใช้ชีวิตตาม ความพอใจฉันจึงไม่ได้ไปนอนทีโฮสเต็ล เลือกไปนอนที่แฟลตของ “ดูรีส” ที่เป็นรัฐบาลสร้างไว้ให้กับคนที่ได้รับวิบัติจากสงคราม เมื่่อฉันถาม “ดูรีส” ว่าสิ่งที่เธอได้รับคือที่อยู่อาศัยจากรัฐบาลเท่านั้นหรือ “เราได้มากกว่านั้น เราได้ที่อยู่ เราได้งาน และเราได้เงินสนับสนุนถ้าต้องการไปใช้ใน การลงทุน สิ่งเหล่านี้เรียกว่ารัฐสวัสดิการ” ฟังเธอเล่าก็เป็นเรื่องแปลกสำหรับฉัน ที่จะต้องดิ้นรนหาสิ่งเหล่านี้ โดยไม่ได้รับการ สนับสนุนใด ๆ จากรัฐบาลเลย “เป็นคนเยอรมันโชคดีนะ” เมื่อฉันบอกเช่นนั้้น “ดูรีส” รีบบอกฉันทันทีว่า “สันติ เธอมาเป็นเป็นคนเยอรมันได้นะ เพียงเธอแต่งงานกับสาวเยอรมันสักคน แล้วเธอก็มีสิทธิได้รับรัฐสวัสดิการแบบคนเยอรมันทุกอย่าง” ใช่ดูถ้าผมจะแต่งงานกับผู้หญิงเยอรมัน ก็จะมีคนเดียวเท่านั้น

เธอรู้ไหมว่าใคร” “ดูรีส” ไม่สบตาแต่ฉันจับมือของเธอขึ้นมาสัมผัสกัริิมฝีปากและพููดว่า “AUF WIEDER SHEN’S ผู้หญิงเยอรมันคนเดียวที่ฉันจะแต่งงานด้วยก็คือดูรีสคนนี้้ล่ะ” เป็นเวลานานนับเดือนที่ฉันอยู่กับดูรีสอย่างมีความสุข อย่างที่เรียกว่า “คิสแม็ก” คำนี้เป็นภาษาเปอร์เซียโบราณทีแปลได้ว่้า “พรหมลิขิต” เธอบอกเช่นนั้น แต่ความเป็น พุทธศาสนิกชนฉันว่าเป็น “กรรมลิขิต” การพบกันจากกัน มีเหตุปัุจจัยทั้งสิ้น

แล้วการจากกันก็มาถึงเรา ก็เพราะเป็นเวลานานนับเดือนที่ฉันไม่ได้กลับประเทศไทย มีจดหมายมาจากหนังสือพิมพ์ “พิมพ์ไทย” สอบถามมาว่ามีปัญหาในการเดินทาง หรือเปล่า แต่ปัญหาใหญ่ไม่ใช่จากหนังสือพิมพ์ที่ฉันทำงาน ปัญหาจากแม่อีกนั้้นล่ะ ที่เขียน จดหมายมาถามว่าเมื่อไหร่จะกลับเสียที แม่อยากจะอวดเพื่อน ๆ ว่าลูกชายเป็นนักเรียน ทุนเยอรมัน เรียนสำเร็จมาแล้ว แต่ที่สำคัญแม่เขียนว่า “ซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์มาฝากสักเรือน เอาไว้ใส่อวดเพื่อนว่าเป็นของขวัญจากลูกที่เลี้ยง มากับมือ” ฉันบอกดูรีสด้วยความไม่สบายใจ ถึงเรื่องการเดินทางกลับ “ทำไม...ทำไม สันติบอกว่าจะอยู่กับฉันทีนี้ไม่ใช่หรือ” เสียงของเธอสั่นเครือ แต่ไม่ใช่เสียงร้องไห้คนเยอรมันเป็นคนเข้มแข็งเก็บความรู้สึก ภายในได้เก่ง “ใช่...แต่มันเป็นความจำเป็นของผมที่จะต้องกลับไปรายงานตัวกับหนังสือพิมพ์ที่ทำงาน และสำคัญกว่านั้นแม่ต้องการให้ผมกลับไปเร็ว ๆ ที่สุด “ดูรีส” เงียบนิ่งแต่ไม่พูดว่าอะไร คงจะให้ผมได้ตัดสินใจคิด

ซึ่งผมก็ตัดสินใจแล้วว่า จะต้องกลับบ้านกลับประเทศไทย บ้านเกิดเมืองนอนของผม สนามบิน“TEGEL” ในคืนที่เราจากกันเหมือนจะร้องไห้ให้การจากกันของเรา “ดูรีส” แต่งชุดสีขาวมาส่งผมถึงสนามบิน ในคืนนั้นมีผู้คนน้อยมาก การบินขาออก ประเทศไม่ยุ่งยากเหมือนขาเข้า “ดูรีส” ไม่ได้ร้องไห้เธอกล่าวคำอำลาเป็นภาษาเยอรมันที่ผมไม่อยากจะได้ยิน เพราะสำ เนียงนั้นมันเศร้ากินใจ “โอฟีเดอร์เซมต์” ผมตอบเธอด้วยคำอำลาภาษาอิตาลี ที่คนหนุ่มสาวเบอร์ลินนิยมพูดกันว่า “เชา” เธอพยักหน้า ผมไม่เห็นน้ำตาของคนรักเยอรมันคนเดียวของผม เมื่อเครื่องบิน บินขึ้้นเหนือท้องฟ้าในค่ำคืนมืดมิด แสงไฟในเมืองยังสว่างไสว แต่ผม กลับเห็นเป็น “กรุงเบอร์ลิน” กำลังร้องไห้ ...สิบกว่าชั่วโมง ของการเดินทาง ผมร้องไห้ตั้งแต่เบอร์ลินมาจนถึงกรุุงเทพ... “ดูรีส” คงไม่ได้เห็นน้ำตาของผม และผมก็ไม่ได้เห็นน้ำตาของเธอเช่นกัน ทำไมผมจึงต้องอ่อนแอ นั้นก็เป็นเพราะว่าประโยคสุดท้ายก่อนที่ผมจะเดินไปขึ้นเครื่อง “ดูรีส” ตะโกนบอกผมว่า ... “สันติ ฉันตั้งท้องมาสองเดือนแล้วจริง...จริง”... ผมเชื่อคนเยอรมันเป็นคนพูดจริง ทำจริง และที่สำคัญเขาจะไม่โกหกกับคนที่เขารัก อย่างแน่นอน

 

ในที่สุด...ก็ถึงวันสำคัญสำหรับการเรียนหนังสือพิมพ์ของฉันก็คือการสอบ