The TURNING POINT IN LIFE ความสุขที่ตามหา "อมตา จิตตะเสนีย์"

The TURNING POINT IN LIFE ความสุขที่ตามหา "อมตา จิตตะเสนีย์"

   “เมื่อก่อนแพรเหนื่อยทุกอย่าง มันเหมือนคนทํางานแล้วก็เครียด ๆ งก ๆ เงินก็อยากได้ Project ก็อยากทํา จนรู้สึกว่าสิ่งที่เรากําลังพรีเซนต์อยู่มันคือความสวยแต่ไม่ได้รู้สึกสวยจากข้างใน มันเป็นความสวยจากข้างนอก และพอมีโอกาสได้กลับไปดูวิดีโอที่ตัวเองทํา เห็นได้ว่าไม่ได้มีความสุขทั้ง ๆ ที่เรายิ้ม ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการมันอยู่ตรงไหน”

   เรารู้จัก แพร อมิตา จิตตะเสนีย์ หรือ “แพรี่พาย” ในฐานะ Make up Artist บิวตี้กูรูชื่อดัง รวมถึงการเป็นแฟชั่นไอคอนที่มีคนติดตามใน Instagram มากกว่า 1.4 ล้านคน ในช่วงเวลาหนึ่งเธออาจมีความฝันหลายอย่าง เช่นการสร้างแบรนด์เครื่องสําอางของตัวเองหรือแม้แต่การเปิดโรงเรียนสอนแต่งหน้า แต่เมื่อเวลาผ่านไปเธอได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย เข้าใจถึงชีวิตความสุขในปัจจุบันที่เธอกําลังทํา นั่นคือการอยู่กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรวมถึงรากเหง้า ทางวัฒนธรรมของไทย

   ย้อนกลับไปในอดีต แพร อมิตา เติบโตในครอบครัวจิตตะเสนีย์ โดยมีคุณแม่ภัสรา จิตตะเสนีย์ นักธุรกิจผู้มีชื่อเสียงคอยให้คําปรึกษาในหลายเรื่อง ด้วยความที่แพรเป็นคนที่ชอบเรื่องศิลปะมาตั้งแต่เด็ก หลังจากเรียนจบมัธยมที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ก็บินลัดฟ้าไปเรียนต่อประเทศอังกฤษ ที่ St. Mary's School Cambridge ด้วยความที่ชอบศิลปะจึงได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสอนศิลปะ University of Arts, London, Central SaintMartins ก่อนจะเรียนต่อจนจบระดับปริญญาโทสาขา Global Management ที่ Regent's Business School

   โดยการแต่งหน้านั้นเธอชอบมาตั้งแต่วัยรุ่น ศึกษาการแต่งหน้าจนเชี่ยวชาญ แบ่งปันไอเดียต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ กลายเป็นเมกอัพกูรูชื่อดัง เป็นไอดอลด้านศิลปะความงามท่านหนึ่งที่มีผู้ติดตามจํานวนมากของประเทศไทย หลังจากนั้นเธอก็ทํางานอยู่กับเรื่องงานแฟชั่นความงาม การแต่งหน้า รวมถึงเรื่องของศิลปะในแบบฉบับของคนเมืองที่ดูเก่งสวยรวยทันสมัย แต่วันหนึ่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิตก็เกิดขึ้นเมื่อเธอ ได้ค้นพบอะไรบางอย่าง

   “สมัยก่อนแพรทํางานเยอะแล้วเหนื่อยมาก จนมาตั้งคําถามกับตัวเองว่าเราจะต้องเป็นแบบนี้ไปตลอดหรือเปล่า หรือเป้าหมายของชีวิตคืออะไร เห็นคุณค่าของตัวเองอยู่ตรงไหน แล้วมันมีจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเราบินไปไกลแต่ไม่รู้ว่าไปทางไหน เราเหมือนคนหลงทางไม่รู้เลยว่าต้องเดินไปข้างหน้าหรือเดินถอยหลัง มันมีความรู้สึกว่ามันไม่ใช่ “ข้างในใจอยากจะพักสิ่งที่เราทําอยู่ตรงนี้โดยที่ไม่รู้หรอกว่าเราจะไปทางไหนต่อจนกระทั่งคืนหนึ่งเรารวบรวมความกล้าและพูดกับตัวเองว่า ขอพักสิ่งที่ทําอยู่ตอนนี้ พอเรามีโอกาสได้เคลียร์กับตัวเองยอมรับกับตัวเองเราไม่อยากได้ตรงนี้แล้วนะ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปยังไงต่อ

   “อาจจะเป็นด้วยโชคหรือเปล่าไม่แน่ใจ ที่ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้เรื่องของผ้าไหมไทย มีอาจารย์เขาให้ผ้ามาเซตหนึ่ง แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้สนใจว่าผ้าไหมไทยคืออะไร แล้วได้มีโอกาสลงไปที่ตัวชุมชนเองที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มันเป็นวันที่มีความสุขมาก แพรมีความรู้สึกว่ามันสัมผัสได้ถึงความรักจากคุณแม่หรือคนในหมู่บ้าน ตอนนั้นเขาให้โอกาสเราได้เรียนรู้พาเราไปสอนว่าบ้านนี้เลี้ยงไหม บ้านนี้ปลูกใบหม่อน บ้านนี้สาวไหม บ้านนี้เก่งทําสีธรรมชาติ มันเป็นการรวมตัวกันของคนที่รู้สึกว่าเขามีเมตตาและน่ารักมากเลย

   “นอกจากคนที่ประทับใจแล้วยังได้เห็นความยิ่งใหญ่ของผ้าไหม 1 ผืน มันมีเรื่องราวเหมือนมันเป็นอะไรที่เรา Missing Piece ที่แพรรู้สึกว่ามันหายไป มันถูกกลับมาต่อโดยอัตโนมัติ วันนั้นรู้สึกว่าแพรมีความสุขมาก ยิ้มจากใจอีกครั้งเหมือนกับเรานอนหลับไปแล้วอิ่ม รู้สึกประทับใจและดีใจมากที่เรากลับไปสัมผัสกับสิ่งที่มันโคตรจะธรรมดา ชีวิตความเป็นอยู่ก็ธรรมดาไม่ต้องพยายามแต่งตัวแต่งหน้า หรือจะต้องมาพยายามแข่งขันกันเหมือนในสังคมเมืองใหญ่ของโลก

    “ด้วยสังคม ณ ปัจจุบัน บางส่วนมีการหลอกลวง มีความน่ากลัวค่อนข้างเยอะ ทําไมเธอไม่แต่งหน้า ถ้าฉันไม่แต่งหน้าฉันไม่กล้าออกจากบ้านหรอก แต่ฉันก็ต้องดูดีตลอดเวลาใน Social Media หรืออะไรแบบนี้ มันกลายเป็นลัทธิหรือระบบความคิดที่เราถูกครอบงําไปแล้ว แล้วแพรก็กลับมาคิดใหม่ได้เห็นการย้อมสีธรรมชาติ แล้วคําว่าสีธรรมชาติมันก็เหมือน Backup ที่แพรแบบชอบในเรื่องของสีสัน แต่อันนี้มันเป็นเซตใหม่ เช็ตสีใหม่ ที่มันมาจากธรรมชาติ มันเป็นอะไรที่ตื่นเต้นแล้วเป็นอะไรที่อยากค้นหา เหมือนเป็นประกายเล็ก ๆ ช่วยต่อลมหายใจให้ตัวเอง

   “หลังจากนั้นก็เลยเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้นโดยเฉพาะภาคอีสานคือตื่นเต้นมากว่า ประเทศเรามีถึงขนาดนี้ เรื่องราวรากเหง้าที่ไม่เคยได้สัมผัสทั้งเรื่องราวของอาหารพื้นถิ่น อาหารพื้นบ้าน การแต่งตัวที่มันเหมาะสมกับภูมิประเทศที่เขาอยู่ วัฒนธรรมตรงไหนมันมีอะไรบ้าง อย่างเรื่องสมุนไพรเรื่องของต้นไม้ท้องถิ่นอีกมากมาไม่รู้จบ”

   “4 ปีที่ผ่านมาแพรเพลา ๆ ลงในเรื่องของการแต่งหน้าแล้วมีโอกาสได้ไปเดินป่ามากขึ้น ได้รู้จักชุมชนที่เขาทําการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้รู้จักกลุ่มคนที่เขาทํางานจริง ๆ ในเรื่องความยั่งยืนทางด้านอาหาร ในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ เรื่องการกินอาหารเป็นยา มันเป็นการต่อยอดขึ้นมาเรื่อย ๆ ด้านในเรื่องของกลุ่มคนแม่ ๆ ที่เขาสอนสีย้อมผ้าที่จังหวัดสุรินทร์ พอเราเข้าไปแล้วก็เข้าใจวิถีชีวิตอยู่คู่ธรรมชาติ วิถีชีวิตที่อยู่คู่ป่า เรื่องไร่หมุนเวียนไฟป่าในเรื่องของระบบทุนนิยม ในเรื่องของอะไรหลาย ๆ อย่างที่มันก็ตามมาเรื่อย ๆ เหมือนกับเราได้เข้าไปมีโอกาสเรียนรู้ในตรงนี้มากขึ้น

   “จากนั้นได้มีโอกาสไปอยู่เชียงดาว ไปอยู่ในที่ที่เป็นเกษตรกรได้เรียนดํานา ปลูกข้าว เกี่ยวข้าว เก็บลําไย ขึ้นมอเตอร์ไซค์เอาไปขายในที่ล้ง มันเป็นอะไรที่ Amazing เราได้กลับไปอยู่ที่รากเหง้า แล้วได้กลับมาเชื่อมโยงกับตัวเองและได้กลับมาเป็นคนอีกครั้งหนึ่ง คือเหมือนเราจะได้ใช้ชีวิตแบบธรรมชาติ มันมีเรื่องราวที่มีแต่รอยยิ้ม พอเรามีโอกาสได้เริ่มเดินเข้าไปในป่า ก็มีสมาธิมากเหมือนชีวิตมันกลมขึ้น เข้าใจในเรื่องของเกิดแก่เจ็บตายเข้าใจชีวิตมากขึ้น

   “นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ระบบร่างกายกับธรรมชาติ ที่ผ่านมาการกินอยู่เราอาจถูกควบคุมด้วยตลาดทุนนิยม ในวิธีการต่าง ๆ ความจริงสิ่งที่ควรจะทําคือ Research ซื้อขึ้นมาใหม่ตั้งแต่การกินอาหารเป็นยา เช่นอย่างเรากินน้ําเย็นเกินไป ทําให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย กินสิ่งไม่ดีอาจเกิดแก๊สในท้อง คือมันเป็นอะไรที่ควรเรียนรู้ แพรคิดว่าถ้าตัวเองยังดําเนินชีวิตแบบคนเมืองแบบนี้ไปเรื่อย ๆ คิดดูว่าอีก 20 ปี 30 ปี เราก็ต้องกลับไปอยู่ในโรงพยาบาลใช้ยาที่บริษัทเดียวกันกับที่อาจทําลายสิ่งแวดล้อมก็ได้ มันเป็นวงจรที่แย่ แพรไม่อยากจบตรงนั้น อยากที่จะยอมรับความจริง ตรงนี้เราคิดว่าสิ่งตรงนี้ที่เราทําอยู่มันดีต่อตัวเอง แล้วแชร์ตรงนั้นเพื่อมันจะเป็นประโยชน์ให้กับคนอื่น ไปด้วยดีกว่า

   

   “ตั้งแต่มีโควิด-19 ทําให้แพรต้องหยุดทําค่ายการเรียนรู้ ก็กลับมาอยู่ในกรุงเทพฯ ทุกอย่างมันเร่งรีบ ทุกอย่างมันสะดวกสบายเราสามารถเดินเข้าห้างซื้อของกินได้เลย กินเสร็จก็ทิ้งถุงอะไรแบบนี้ ก็มานอนคิดกับตัวเองว่าปัจจุบันที่เคยอยู่เราแทบจะไม่รู้จัก Informat วัตถุดิบที่เราใช้ ทุกอย่างหน้าตามันมาจากที่ไหน หรือว่าเราชินสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว

   “การล็อกดาวน์ที่ผ่านมาจึงได้อยู่กับพ่อแม่ ตอนแรกแพรมีความคิดว่าไม่อยากอยู่กรุงเทพฯ รู้สึกว่ามันดูดพลัง คือพอได้เสพเรื่องราวเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทําให้หัวสมองเปิด บางที่เรามีความหงุดหงิดจนไม่อยากอยู่ในกรุงเทพฯ พอดีครอบครัวของแพรย้ายที่อยู่ขึ้นมาบนตึก ทั้งที่ใจจริงไม่อยากย้ายคือเวลาแพรไปเดินป่าต้องถอดรองเท้าเดิน มันมีความรู้สึกดีมาก ๆ เวลาเดินไปสัมผัสธรรมชาติตรงนั้น แต่พอย้ายออกมาที่ตึกนี้ โอ้วแบบ My God มาอยู่กับป่า คอนกรีตก็มีความขัดแย้งกับตัวเอง ที่นี่ก็คุยกับที่บ้าน แม่ก็บอกว่าแพรก็ขึ้นไปทําสวนบนดาดฟ้าสิ ก็มีงอนแม่นิดหน่อยว่าทําไมให้เราขึ้นมา

   “แต่เหมือนเป็นโอกาสเพราะช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา เราเปลี่ยนจากพื้นที่ที่มันร้อนและแห้งแล้งดูแล้วมีแต่ความท้อแท้ ให้มันกลายเป็นป่าที่เราอยากไปให้มาอยู่ที่บ้านเราแทน ซึ่งมันเป็น 4 เดือนที่เราทํางานค่อนข้างหนัก อารมณ์ตอนนี้คือถ้าได้เห็นตัวจริงของแพร มันเป็นอะไรที่ผิวกระดํากระด่าง กระด้างที่ทํางานอยู่ตลอดเวลา เช้าถึงเย็น และกลางคืน แต่มันก็สอนเราอีกมุมหนึ่งว่าเฮ้ย! เราได้พูดในเรื่องของความยั่งยืนในอนาคต มันถึงเวลาที่ทุกคนต้องควรหันมาใส่ใจ

   “ในเรื่องของการปลูกพืชบนดาดฟ้า ตอนแรกว่าจะปลูกแค่ต้นไม้ธรรมดา ให้มีความร่มรื่นก็เลย เปลี่ยนเป็นปลูกพืชอาหาร แล้วก็จะเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ให้มันกลายเป็น Theme Community ที่เราจะปลูกฝังให้ลูกบ้านของเราได้เรียนรู้อยู่ใกล้ตัวอยู่กับสิ่งแวดล้อม เช่นถ้ามีเด็ก ๆ มาก็สอนให้เขาหัดคัดแยกขยะ บางอย่างสามารถนํามาทําเป็นปุ๋ยได้ ขยะทุกอย่างมันมีค่าหมด มันไม่ใช่ว่าเราใช้แล้วเราทิ้งมันอย่างเดียว

   “ที่นี้ในส่วนของตัวดาดฟ้ามันก็มีมากกว่าผัก ก็เริ่มมีดอกไม้หอมโบราณที่อยากปลูกเอามาทําน้ําอบ น้ําปรุง พอเราใส่ใจในเรื่องของรากเหง้า เราก็เลยอินในภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนด้วย เช่นเรื่องการ ทําความสะอาดจากมะกรูด น้ํายาล้างจานที่ทํามาจากมะนาวเข้ามา หรืออะไรหลาย ๆ มีดอกไม้โบราณมีเรื่องของพืชให้สี ที่สามารถนํามาสกัดเป็นสีวาดรูปได้ หรือครามเอามาย้อมผ้าได้สีน้ําเงิน ดาวเรื่องย้อมผ้า ด้วยสีฟ้า คือปลูกให้พอใช้

   “ตอนนี้เราเห็นแล้วว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่มันเกิดขึ้นแล้วถ้าเรากลับมามองในตัวของพวก เราจริง ๆ อาจเพราะคนเราเยอะเกินไป เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่รู้ตัว แล้วก็ระบบนายทุน และระบบนุ่นนี่นั่นความเห็นแก่ตัวของความเป็นคนมันค่อนข้างเยอะ ความมั่นคงทางอาหารในอนาคต แพรคิดว่าถ้าเราจะยิ่งฟังอะไรที่มันอยู่ในระบบของนายทุนมันก็จะยิ่งแย่ลง” การเปลี่ยนแปลงของคนเดิม

   “คนที่ติดตามแพรมีหลายกลุ่ม อย่างแฟนคลับที่เขาโตมากับทุกช่วงเวลาของแพรก็มี เช่นแพรไป ช่วยดับไฟป่า ก็จะมีกลุ่มคนที่เขาดูทุกสตอรี่ ทุกไลค์ ทุกโพสต์ เขาเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่นหนูติดตามพี่มาตั้งแต่ ป. 5 ตอนนี้หนูแต่งงานแล้วค่ะ น้องคนนี้จะเป็นคนที่รู้เรื่องราวแทบทุกอย่าง บางคนติดตามแค่ช่วงที่สอนแต่งหน้า หรือดูเฉพาะการพาดหัวข่าว เช่น ฉันอินกับผ้าไทย ช่วงที่แพรปลูกผักสมุนไพร หรืออาจจะมีคนที่ติดตามช่วงแรกและมาพบช่วงหลังจากขาว มาเป็นดํา ก็มีหลายคน

   “4 ปีที่ผ่านมาก็ใช้เวลาค่อนข้างนานบางที่เราไม่ได้ออกสื่อเยอะ ไม่ได้ทําวิดีโอมาว่าฉันเข้าป่ามาทําแบบนี้ หลายสถานที่แพรให้เกียรติ บางครั้งไปสถานที่ที่เราไม่ได้ไปถ่ายวิดีโอหรือ Social Media เพื่อเอามาโชว์ความดีว่าเราไปทําอะไรมาบ้าง อย่าง 4 ปีที่มันไม่ค่อยมีอะไรออกมาขนาดนั้นก็คือ มันจะต้องตกผลึกอย่างแท้จริงก่อนที่เราจะมาพูดถึงมัน แล้วเรื่องของความยั่งยืนมันเป็นอะไรที่ระยะยาวนิดหนึ่ง ก็เลยต้องใช้เวลาที่เราเข้าใจแน่ ๆ จริง ๆ ทําได้ก่อนที่เราจะมาพูด

   “ส่วนการทําสวนลอยฟ้าก็ยังงูๆ ปลา ๆ อยู่ ลองผิด ลองถูก มันก็ยังไม่ได้กล้าออกมาบอกว่าฉันอะไรอย่างนี้ขนาดนั้นด้วย แล้วอันนี้มันเป็นสิ่งใหม่ของแพร อย่างแรกที่แพรเล่าให้ฟังในเรื่องการค้นหาตัวเองในเรื่อง สนุกสนานกับ Passion แต่เรื่องนี้มันเป็นเรื่องของคุณค่าในชีวิต ที่เรามอบให้กับตัวเอง แล้วที่นี้แพรอยากจะเป็นคนเล็ก ๆ ที่มีประโยชน์ให้กับคนอื่นด้วย

   “ตอนนี้มันไม่ได้ซ่าเหมือนเมื่อก่อนเป็นแบบ Chill Chil เฟรนลี่มากขึ้นเปลี่ยนไปอีกแนวหนึ่งแต่สุดท้าย แพรรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้เวลายิ้มมันเป็นการยิ้มมาจากใจจริง ๆ เรา Cut Off Activity ที่มันอยู่รอบข้างเราไปหมด ไม่อยากทํางานกับใครก็ไม่ต้องไปทํามันไม่ได้ เหมือนเมื่อก่อนที่เรากลัวว่าเราจะพลาดโอกาสถ้าเราไม่ได้ทํางานกับคนนี้ เราต้องต่อยอดโอกาสของเราข้างหน้านี้ ตอนนี้เราสงบนิ่งอยู่กับชีวิตที่มันไม่ต้องเยอะและเรียบง่ายมากขึ้น มีความปล่อยวาง มีความโตขึ้น และต้องขอบคุณหลายๆ เรื่องที่ทําให้เราได้ไปสัมผัสมาและมันทําให้เราเปลี่ยนเป็นแบบนี้

   

   “ปัจจุบันแพรยังอยู่ยังหมุนเวียนอยู่กับเรื่องราวธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แพรไม่อยากมองไกล พราะว่ายังไม่รู้อะไรมาก อนาคตเรื่องค่ายธรรมชาติก็อยากให้มันทํามันเป็นหลักสูตร คืออยากให้ทุกคนกลับมามีโอกาส มาสัมผัสตรงนี้ แล้วมันตอบคําถามที่อยากรู้ พอได้มาสัมผัสมันได้เชื่อมโยงตัวเองกับธรรมชาติจริง ๆ ย้อนกลับมาใส่ใจตัวเอง ในเรื่องความมั่นคงของอาหารอย่างที่สวนลอยฟ้าของแพรทํา มันเหมือนที่นิวยอร์กหรือฮ่องกง ที่เขาสามารถ เลี้ยงผึ้งและก็มีการทําเกษตรบนพื้นสูงได้ หวังว่าวันหนึ่งกรุงเทพจะกลายเป็น Green City ได้เหมือนกัน

   “ถ้าในอนาคตเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ อาจจะเป็นเรื่องของโมเดล Green Commนnity ที่เรารู้สึกว่าสามารถทําได้กับพื้นที่จํากัดตรงนี้ PlaceDesign สามารถออกแบบให้มันทําได้ นี่ก็คือสิ่งหนึ่งที่มอง และได้คุยกับเกษตรกร เขาก็บอกว่าเฮ้ย! จริง ๆ ในกรุงเทพฯ สิ่งที่แพรทําอาจจะเป็นที่แรก ๆ ก็ได้ ที่มีเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านมารวมอยู่ แล้วสามารถไปแจกจ่ายให้กับในครอบครัวอื่น คือแพรไม่ได้มองในภาพยาว ว่าฉันต้องเป็นเกษตรกรอะไรอย่างนี้ แต่อาจจะเป็นโมเดลที่คนอื่นทําตามได้ในอนาคต

    “ในส่วนของรากเหง้าทางวัฒนธรรม ถ้าให้พูดจริง ๆ แพรรู้สึกว่ามันก็ต้องขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่แล้วล่ะ ที่เขาจะหันมาสนใจหรือเปล่า แต่ส่วนตัวแพรให้ความสนใจกับสิ่งที่มันกําลังจะเกิดขึ้น และสิ่งที่มันเคยเกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ต้องดูว่าแต่ละคนหยิบจับตรงไหนมาใช้ได้บ้าง บางคนหยิบจับในเรื่องของเสื้อผ้า บางคนหยิบจับในเรื่องของยารักษาโรค บางคนหยิบจับในเรื่องของอาหารการกิน บางคนหยิบจับในเรื่องของที่อยู่อาศัย แต่อย่างน้อยให้มันอยู่ในเรื่อง ของปัจจัย 4 และต่อยอดไปให้ได้อารมณ์มันจะเหมือนประเทศญี่ปุ่นที่มีความปัจจุบันและโมเดิร์น มันมีรากเหง้าที่เหมือนโคตรจะชัดเจน มันมีความภูมิใจในสิ่งที่เราเป็นนั่นเอง

   “แพรคิดว่าความเป็นไทยนี้คือมันเท่ไม่แพ้ที่ไหนเลยนะคะ อยากให้ทุกคนได้มีโอกาสลงมาสัมผัสเหมือนลองมาเที่ยวชุมชน เที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงเรียนรู้ มันมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่เราสามารถหยิบจากตรงนั้น เอามาผสมผสานกับความเป็นตัวเอง แล้วมันก็สามารถแตกไอเดียจินตนาการเรื่องของจิตวิญญาณ จะได้เห็นในสิ่งที่บรรพบุรุษของเราสร้าง มีองค์ความรู้ในเรื่องของภูมิปัญญาเก่า ๆ ของคนสมัยก่อน สุดท้ายแล้วมันเป็นอะไรที่อยากให้ทุก ๆ คนลองเปิดใจแล้ว ถ้ามันยังเดินทางไม่ได้ลองถามตัวเองว่าเราสนใจอะไร อยากรู้เรื่องอะไรก็ตามมันเป็นอะไรที่แพรคิดว่ามันเป็น The Best จริง ๆ ค่ะ

   

   

 

 

   

 

The TURNING POINT IN LIFE ความสุขที่ตามหา "อมตา จิตตะเสนีย์"