Scoop : สิงคโปร์ต้นแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน | Issue 158

Scoop : สิงคโปร์ต้นแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน | Issue 158

สิงคโปร์ต้นแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ประเทศสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ มีพื้นที่เพียง 718.3 ตร.กม. มีขนาดใกล้เคียงกับเกาะภูเก็ตของบ้านเรา แต่จำนวนประชากรกว่า 5 ล้านคน ทำให้สิงคโปร์มีจำนวนประชากรหนาแน่นมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ในสภาพที่เป็นเกาะแทบไม่สามารถขยับขยายพื้นที่ไปทางไหนได้แม้จะมีระบบเศรษฐกิจที่ดีก็ตาม แต่ถ้าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ดี ก็มีสภาพไม่ต่างจากมหานครสลัมทั้งเกาะแน่นอน

แต่สิงคโปร์ไม่ปล่อยให้ตัวเองเป็นเมืองปิดตายที่สุ่มไปด้วยกองขยะและมลภาวะอันเลวร้าย เพราะสิงคโปร์มีชายที่ชื่อว่า “ลี กวน ยู” นอกเขาจากจะพัฒนาเมืองจากทรัพยากรอันจำกัดให้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางการเงินของโลกได้แล้ว เขายังไม่ละเลยเรื่องของสิ่งแวดล้อม

ในปี 1967 ลี กวน ยู ประกาศนโยบาย Garden City คือเปลี่ยนทั้งเมืองให้เป็นสีเขียว การปลูกต้นไม้กลายเป็นวาระแห่งชาติ ปี 1970  มีต้นไม้ปลูกใหม่กว่า 55,000 ต้น ในปี 1975 ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านสวนสาธารณะและสันทนาการหรือ Parks and Recreation Department  มีการสร้างสวนสาธารณะทั่วทั้งเมือง จนกระทั่งตอนนี้สิงคโปร์มีสวนสาธารณะอยู่ถึง 350 แห่ง

นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับจาก Sensable Lab ให้เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวมากที่สุดในโลก (29.3% ของพื้นที่) ยังไม่หยุดแค่นี้แผนแม่บทพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ ปี 2014 – 2030 สิงคโปร์ยังคงเดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

คุณภาพทางอากาศ
การพัฒนาประเทศให้เจริญบางครั้งต้องแลกมาด้วยอากาศที่บริสุทธิ์จากโรงานอุตสาหกรรมและการจราจรบนท้องถนน แต่โรงงานอุตสาหกรรมของประเทศสิงคโปร์ต้องทำตามแผน NEA’s Source Emission Test Scheme ที่ให้มีการทดสอบการปล่อยอากาศจากแหล่งผลิตตามาตรฐาน ซึ่งทำให้โรงงานอุตสาหกรรมได้รับการตรวจสอบมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเรื่องของยานยนต์ ได้มีการควบคุมชนิดและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง มีการกำหนดมาตรฐานการปล่อยไอเสียสำหรับรถทุกคัน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการใช้ขนส่งสารธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัวอีกด้วย

ด้านการจัดการน้ำ
สิงคโปร์ยังจำเป็นต้องซื้อน้ำจากประเทศมาเลเซียมาตั้งแต่อดีต แต่อีกส่วนหนึ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการน้ำโดยสร้างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำยาวกว่า 48 กิโลเมตร เพื่อระบายจากเมืองไปยังโรงงานบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีอีกครั้ง อีกด้านหนึ่งมีการตั้งโรงงานโดยเอาน้ำทะเลที่มีความเค็มสูง ผ่านกระบวนการให้จืดแล้วนำกลับมาเป็นน้ำใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด

การกำจัดขยะและดูแลสิ่งแวดล้อม
สิงคโปร์
มีวิธีการบริหารจัดการกำจัดขยะ ระดับแนวหน้าของโลก มีการกำจัดขยะที่อยู่ในเมืองได้กว่า 90% ซึ่งไม่ได้ใช้การเผาแบบปกติที่ปล่อยมลพิษออกมา แต่เริ่มจากต้นตอคือให้ความรู้กับประชาชนในการคัดแยกขยะต้นทาง ว่าส่วนไหนสามารถนำมารีไซเคิลได้หรือส่วนไหนที่จำเป็นต้องฝังกลบ ขยะอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเผาในโรงงาน ซึ่งก๊าซที่ถูกปล่อยออกเป็นควันนั้นได้ถูกดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต เพื่อลดมลภาวะทางอากาศ ส่วนเถ้าที่ไร้สารพิษแล้วกับขยะที่เผาไม่ได้จะถูกนำไปถมเป็นพื้นที่เกาะอีกด้วย เกาะเซมาเกา (Semakau Landfill)

การใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
นี่คือหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศของสิงคโปร์อย่างแท้จริง ที่ผ่านมามีการออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมมากถึง 30 ฉบับ ครอบคลุม 4 หัวข้อใหญ่คือ 1.รัฐบัญญัติเพื่อควบคุมมลภาวะและด้านสาธารณสุข 2.รัฐบัญญัติเกี่ยวกับการวางแผนและจัดการพื้นที่ 3.รัฐบัญญัติเกี่ยวกับการอนุลักษณ์ธรรมชาติ 4.รัฐบัญญัติเกี่ยวกับมลภาวะทางทะเล

ด้วยกฎหมายที่มีการบังคับใช้อย่างจริงจังนี้เอง ทำให้สิงคโปร์เอาชนะเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายได้มาโดยตลอด ในที่สุดสามารถพลิกฟื้นประเทศที่มีข้อจำกัดในหลายด้านให้กลับมารุ่งเรือง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่สะอาดและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกประเทศหนึ่งของโลกไปแล้ว


อ่าน Scoop : CLEAN YOUR MIND by MERIGIN เพิ่มเติม 

- CLEAN YOUR MIND by MERIGIN : ขยะ/สังคม ถุงพลาสติกภัยร้าย หรือเป็นเพราะเราเอง - Intro
- อกลาพลาสติก เทรนใหม่ที่ใครได้ประโยชน์? / หรือปัญหาเเท้จริงคือมนุษย์?
- How To ทิ้ง! เริ่มต้นที่มือ จบลงที่ไหน / การแยกขยะก่อนทิ้ง และความเข้าใจแบบผิด ๆ กับปัญหาที่ตามมา 
- ดูเเลสิ่งเเวดล้อมเริ่มต้นง่าย ๆ ในบ้านมาแยกขยะกันเถอะ
- Recycle Upcycle Zero Waste

Scoop : สิงคโปร์ต้นแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน | Issue 158