ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม

ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม

ทีมแพทย์กองออร์โธปิดิกส์ รพ.พระมงกุฎเกล้า ร่วมกับ ทีมวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการสร้างและผ่าตัดใส่กระดูกเทียมผลิตจากโลหะไทเทเนียมที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทย เพื่อใส่ทดแทนกระดูกนิ้วหัวแม่มือที่ถูกทำลายจนหมดจากเนื้องอกกระดูกเป็นรายแรกของโลก โดยทีมวิจัยจาก วิศวฯ จุฬาฯ ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพสามมิติ และใช้เทคโนโลยีทางโลหะวิทยาด้านงานหล่อร่วมกับการพิมพ์สามมิติในการสร้างกระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม


ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม

โดยร่วมมือกับคณะอาจารย์แพทย์ จากกองออร์โธปิดิกส์ รพ.พระมงกุฎเกล้า ในการวางแผนผ่าตัดและเจาะรูในต้นแบบคอมพิวเตอร์ก่อนการผลิตจริง เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการร้อยเอ็นให้คนไข้ ทั้งนี้ คณะแพทย์จากกองออร์โธปิดิกส์ รพ.พระมงกุฎเกล้า ได้วางแผนการผ่าตัดเอากระดูกที่เป็นเนื้องอกออกไปทั้งชิ้น และนำกระดูกเทียมไทเทเนียมมาใส่ทดแทน โดยเย็บเส้นเอ็นของผู้ป่วยยึดตรึงกับกระดูกเทียมให้แข็งแรง


ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม

ซึ่งหลังจากผ่าตัดไปแล้ว 2 เดือน คนไข้สามารถขยับมือและกลับมาใช้งานได้ดังเดิม นับเป็นอีกก้าวแห่งพัฒนาการด้านวิศวกรรมทางการแพทย์ ของไทยที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสในเมืองไทยให้ได้เข้าถึงการรักษาไปอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ หากหน่วยงานใดที่สนใจต้องการร่วมมือกับ วิศวฯ จุฬาฯ ในการพัฒนากระดูกเทียมโลหะไทเทเนียมสามารถติดต่อมาได้ที่ งานบริหารวิจัย คณะวิศวฯ จุฬาฯ โทรศัพท์ 0 2218 6354, 0 2218 6373 , 0 2218 6347


ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม


ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม


ครั้งแรกของการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมโลหะไทเทเนียม