ชนแล้วหนี เจตนาหรือแค่ตกใจ ?

ชนแล้วหนี เจตนาหรือแค่ตกใจ ?

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งบนท้องถนนด้วยแล้วอาจมีสิ่งไม่คาดฝัน เกิดขึ้นได้ตลอด หลายครั้งแม้เราจะได้ใช้ ความระมัดระวังดีแล้วแต่ความเสียหาย ก็เกิดขึ้นได้ อย่างเรื่องของกระสอบ

กระสอบ เดินทางเข้ามาหางานในเมืองหลวง เพื่อหวังส่งเงินกลับไปทางบ้าน เพราะเมื่อเข้าหน้าแล้ง ไร่นาไม่มีให้ทํา เขารับหน้าที่เป็นคนรับส่งสินค้าใกล้ไกลแค่ไหนไม่เคยหวั่น วันไหนใครขาดใครลา เขารับทําแทนหมด

หลายปีผ่านไป เงินที่ทํางานได้มาก็ส่งกลับบ้านไปพอสมควร เขายอมอดมื้อกินมื้อเพื่อให้คนทางบ้าน ที่อยู่ข้างหลังได้อิ่มท้องมากกว่า แต่แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปเพราะอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจนเกินกําลัง

เพราะต้องทํางานมากขึ้นเหนื่อยมากขึ้นพักผ่อน น้อยลง และยิ่งนานวันร่างกายก็ยิ่งแบกภาระมากขึ้น จนกระทั่งเขาหลับใน

ประชาชนผู้เห็นเหตุการณ์ : โน่นเลยครับกระบะ คันนั้นเลย ผมว่าเขาหลับในแน่ ๆ ไม่รู้ เหมือนกันว่าเมาหรือเปล่า แต่เซซ้ายที่ ขวาที และก็ขับมาชนแผงแม่ค้าที่ขายของ อยู่ริมถนน แถมไม่แตะเบรกด้วยนะ กวาด ไปหลายแผงเหมือนกัน นั้นคนบาดเจ็บ คนเสียชีวิต นอนอยู่นั่น 

เจ้าหน้าที่ตํารวจ : แล้วคนขับละครับ ตอนนี้ อยู่ที่ไหน นําส่งโรงพยาบาลหรืออย่างไรครับ 

ประชาชนผู้เห็นเหตุการณ์ : หนีไปแล้วครับ 

เจ้าหน้าที่ตํารวจ : ขอบคุณครับ ผมจะรีบวิทยุให้เจ้าหน้าที่สกัดจับให้ได้ครับ

Q : เอาล่ะครับ ชนแล้วหนี ไม่ให้ความช่วยเหลือต่อผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต กระสอบจะมีความผิดในเรื่องชนแล้วหนี หรือไม่อย่างไร ?

A :   จากข้อเท็จจริง กระสอบขับรถหลับในไปชนแผงแม่ค้าขายของริมถนน ได้รับความเสียหาย อีกทั้งในที่เกิดเหตุมีผู้คนอยู่เป็นจํานวนมาก ทําให้มีคน เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บอีก เมื่อเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวแล้วกระสอบซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถยนต์หลบหนีโดยไม่หยุดรถ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงในทันที อีกทั้งต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติ การจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทําดังกล่าวของเขาจึงมีความผิด ตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรค 2 ซึ่งมีโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องพยายามบรรเทาความเสียหาย ที่เกิดขึ้นในการกระทําของตนไม่ใช้หลบหนี ไม่คิดจะเยียวยาอย่างกระสอบ 

พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 

มาตรา 78 : ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนีไปหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทําความผิดและให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอํานาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่า คดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ ในการกระทําความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทําความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ

มาตรา 160 : ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาท ถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

ชนแล้วหนี เจตนาหรือแค่ตกใจ ?