‘‘ ไขมันทรานส์’’ ภัยร้ายซ่อนรูป

‘‘ ไขมันทรานส์’’ ภัยร้ายซ่อนรูป

ปัจจุบันปริมาณของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาหาร ผลิตภัณฑ์แปรรูป ขนมต่าง ๆ จะต้องแสดงอยู่ข้างบรรจุภัณฑ์ ของอาหารแต่ละชนิด ซึ่งไขมันทรานส์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกระบุอยู่ด้วย โดยเฉพาะฉลากโภชนาการอาหารแปรรูปใน สหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยไม่ได้บังคับให้ใส่ข้อมูลไขมันทรานส์ในฉลากอาหาร

การกินไขมันทรานส์เข้าไปจะส่งผลให้เพิ่ม ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจโดยเจ้าไขมัน ตัวนี้จะไปเพิ่มการสร้างพลากซ์ด้านในของผนัง หลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของอาการ หัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยเหตุนี้เอง ทําให้องค์การอาหารและ ยาของสหรัฐฯ สั่งให้มีการแจ้งปริมาณไขมัน ทรานส์ในฉลากโภชนาการ ตั้งแต่มกราคม ค.ศ.2006 เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่า อาหาร แต่ละชนิดที่รับประทานเข้าไปนั้น มีปริมาณ ไขมันทรานส์อยู่เท่าไร โดยเฉพาะอาหาร แปรรูปจากโรงงานอุตสาหกรรมจํานวนมากมี ส่วนประกอบของน้ํามันที่มีการเติมไฮโดรเจน บางส่วนลงไป ซึ่งการกระทําเช่นนี้จะเป็นสิ่งที่ ก่อให้เกิดไขมันทรานส์ในอาหารแปรรูปทั้งหลาย

โดยทางองค์การอาหารและยาของทางสหรัฐฯ ได้ดําเนินการเพิ่มขั้นตอนในการกําจัดไขมัน ทรานส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากแหล่งอาหาร ซึ่ง หากทําสําเร็จอาจจะช่วยลดโอกาสในการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยป้องกัน ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจปีละหลายพันคน และด้วยเหตุนี้ทําให้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้มีการตัดสินในขั้นต้นว่า น้ํามันที่มีการเติม ไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปนั้น ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป โดยมีการอ้างอิงถึงการค้นพบของคณะผู้เชี่ยวชาญ และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญคือ ดร.ซูซาน เมย์นี ผู้อํานวยการศูนย์ ความปลอดภัยของอาหาร และโภชนาการประยุกต์ ขององค์การอาหารและยา สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เจ้าไขมัน

ทรานส์นั้น ไม่ได้ถูกกําจัด ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ ตามธรรมชาติในเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จาก นมหรือไข่ รวมไปถึงในน้ํามันที่นํามาประกอบ อาหาร ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจาก กระบวนการผลิต รวมไปถึงมีบริษัทบางแห่งที่ ร้องเรียกต่อองค์การอาหารและยา ของสหรัฐฯ เพื่อจะใช้น้ํามันที่ถูกเติมไฮโดรเจนบางส่วนใน กรณีพิเศษ ซึ่งการเติมไฮโดรเจนลงในน้ํามันบางส่วนนั้น มีมาตั้งแต่สมัย ค.ศ.1950 โดยจะช่วยเพิ่มอาย ของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความคงตัวของกลิ่นของ อาหารแปรรูปจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อวันนี้เราได้ทราบแล้วว่า การเติม 1 ไฮโดรเจนลงไปนั้นส่งผลให้เกิดไขมันทรานส์ และยังเชื่อมโยงตัวเราไปสู่โรคหัวใจอย่าง ต่อเนื่องรายงานวิจัยในปี 2002 โดยthe National Academy of Science's Instutute of Medicine พบความสัมพันธ์โดยตรงของการ กินไขมันทรานส์และการเพิ่มระดับของไขมัน ตัวไม่ดี (LD) และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ

อย่างไรก็ตาม Mical E. Honigfort เจ้าหน้าที่ 3 ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคขององค์การ า อาหารและยาสหรัฐฯยังระบุว่าโรงงานบางแห่ง แ ยังคงใช้น้ํามันที่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลง 1 ในอาหารแปรรูปทางอุตสาหกรรม มีตัวอย่างของอาหารบางกลุ่มที่อาจจะมีน้ํามันที่มีการเติม น ไฮโดรเจนบางส่วนลงไปแล้วผู้บริโภคควรทําอย่างไร ทั้งดร.ซูซาน เมย์นี และ Mical E. Honigfort แนะนําว่าในช่วงเวลานั้น ถ้าเราหยิบอาหารโปรด และพบว่ามันมีไขมันทรานซ์ อยู่ในฉลาก โภชนาการ ทางที่ดีที่สุดคือ พิจารณาปริมาณ ของไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์ และเลือก ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณของไขมันทรานซ์ ที่ ต่ําที่สุด ถึงแม้ว่าอาหารจะถูกเคลมในห่อของ ผลิตภัณฑ์ว่ามี “ไขมันทรานซ์ 0 กรัม” เป็นความคิดดีกว่าถ้าได้ดูลิสต์ส่วนประกอบ ของฉลากผลิตภัณฑ์ด้วย

ภายใต้การวางข้อกําหนดตามกฎเกณฑ์ ปัจจุบันบริษัทสามารถทําการเคลมข้อความ ดังกล่าวได้ถ้าอาหารชนิดหนึ่ง ๆ มีส่วนประกอบ ของไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อ 1 หน่วย บริโภค แต่ถ้ามีการระบุว่ามีการใช้น้ํามันที่เติม ไฮโดรเจนบางส่วนนั้นหมายความว่าภัณฑ์นั้น ย่อมมีส่วนประกอบเป็นไขมันทรานปริมาณ เล็กน้อย การเลือกอาหารหลาย ๆ ชนิดที่มี แม้เพียงปริมาณเล็กน้อยของไขมันทรานส์ แต่ เมื่อมารวมกันหลาย ๆ ชนิดเข้า เมื่อกินเข้าไป ย่อมมีโอกาสที่จะกินมากเกินไปอย่างมีนัย สําคัญได้ )

อาหารที่มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์

- แครกเกอร์ คุกกี้ เค้ก พายแช่แข็ง และขนมอบอื่น ๆ 

- ขนมกรุบกรอบ เช่น ป๊อบคอร์นบางชนิด

- มาการีน 

- ครีมเทียม (ครีมเทียมที่เราใส่ในกาแฟหรือผลิตภัณฑ์ 3 in 1 ทั้งหลาย เป็นต้น) ผลิตภัณฑ์แป้งบางอย่าง เช่น บิสกิตและซินนามอนโรล 

- อาหารแช่แข็งสําเร็จรูป




 

‘‘ ไขมันทรานส์’’ ภัยร้ายซ่อนรูป