Coping With Sleep Deprivation

Coping With Sleep Deprivation

ฉบับที่แล้วเล่าถึงเรื่องการอดนอนที่กลุ่มคนในปัจจุบันเป็นกันมาก และหลายคนไม่ทราบถึงผลที่ตามมาว่าหนักหนาสักเพียงใด …

การอดนอนนั้นยังส่งผลทำให้กระบวนการเรียนรู้ช้าลงอีกด้วย สำหรับนักเรียน นักศึกษา หรือพนักงานที่อดหลับอดนอน ก็จะส่งผลให้เรียนไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ส่วนพนักงานก็จะขาดสมาธิในการทำงานไป 

การอดนอนยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองในส่วนต่างๆ ให้ทำงานผิดปกติไป เช่น สมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal cortex) จะทำให้การเรียนรู้จากคำพูด (Verbal learning tasks) แย่ลง ส่วนกลีบสมองบริเวณขมับ (Temporal lobe) จะทำให้การเรียนรู้ด้านภาษา (Language processing) ช้าลง ทำให้เกิดอาการงีบหลับสั้นๆ หรือที่เรียกว่า หลับกลางอากาศหรือหลับใน 

อาการหลับในนั้นเกิดจากการที่สมองส่วนธาลามัส (Thalamus) ของคนที่นอนไม่พอ จะหยุดทำงานช่วงสั้นๆ แบบชั่วคราว อาจเป็นวินาทีหรือนานถึงครึ่งนาที ทำให้เกิดอาการงีบหลับ ไม่ตื่นตัว ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้ใดๆ หรือรับรู้ได้ช้า บางคนเรียกภาวะนี้ว่า ‘หลับใน’ ซึ่งเป็นอันตรายมากถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังขับรถหรือระหว่างการทำงานที่ต้องใช้ความเร็วหรือความแม่นยำอยู่ด้วย เราคงได้ฟังเรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์จากการหลับในอยู่บ่อยครั้งแล้วนะครับ

ยังไม่หมดแค่นี้นะครับ การอดนอนยังทำให้เกิดอาการทางจิต การอดนอนชนิดรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะโรคทางจิต (Psychosis) ได้ เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด ระแวงกลัวคนมาทำร้าย หรือมีอาการคล้ายคนที่เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) เช่น มีอารมณ์ร่าเริงสนุกสนานผิดปกติ หรือมีอารมณ์เศร้าผิดปกติได้ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการหงุดหงิดง่าย หรืออารมณ์เสียง่ายมากน้อยตามแต่ความรุนแรงของการอดนอนนั้น

แนวทางการรักษาเรื่องอดนอนที่ได้ผลดีที่สุด คือการนอนให้พอเพียง อาจจะใช้เวลานอนให้มากกว่าปกติในวันก่อนที่รู้ว่าจะต้องอดนอน และเมื่ออดนอนมาแล้วก็ควรหาเวลานอนชดเชยให้มากพอ  ภาวะอดนอนก็จะดีขึ้นได้เองโดยที่ไม่ต้องไปหาการรักษาที่ยุ่งยาก 

ขอขอบคุณ : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ และ นายแพทย์สุทธิ ศฤงคไพบูลย์ จิตแพทย์ 

สูบบุหรี่ เสี่ยงมะเร็งไต

หนุ่มๆ ทั้งหลายที่เป็นสิงห์อมควันต้องอ่านบทความนี้ให้ดี เพราะจากประวัติของผู้ชายที่สูบบุหรี่นั้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ไต สูงกว่าชายที่ไม่สูบถึง 50% ส่วนในฝ่ายหญิงผู้สูบมีความเสี่ยงมากกว่าไม่สูบ 22% และความเสี่ยงจะลดลงอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเมื่อเลิกสูบบุหรี่

ที่สำคัญแม้มะเร็งไตจะเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในคนไทยต่ำมาก แต่ก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกๆ ปี 

ดังนั้นการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ รวมทั้งการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ก็มีโอกาสทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลดลง และหากพบก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที ไม่ต้องสูญเสียอวัยวะ และมีชีวิตได้ยืนยาว

ในเดือนนี้ยังเป็นเดือนที่ตรงกับวันงดสูบบุหรี่โลกอีกด้วย 

เริ่มต้นงดตั้งแต่เดือนนี้ได้เลยครับ

อดนอน ทำร้ายชีวิต